สร้าง Landscape ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยวัสดุตกแต่งภูมิทัศน์คาร์บอนต่ำ
- Wichuda Wanthanasin
- Mar 25
- 1 min read

ที่มาของสาเหตุการควบคุมการปล่อยคาร์บอนเพื่อรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศา
ในทุก ๆ ปีจะมีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) โดยมีตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อหารือและประสานงานในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน และในการประชุม COP21 เมื่อปี 2015 ณ กรุงปารีส 196 ประเทศได้ตกลงที่จะร่วมมือกันรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้เกิดข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ขึ้นภายใต้ข้อตกลงนี้เอง
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในสังคมโลกและในเมืองไทยเองเริ่มรู้สึกได้มาหลายปีแล้ว และทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ในแวดวงสถาปัตยกรรมเองก็เช่นกัน โดยมีการคำนึงถึงการปล่อยคาร์บอนฯที่เกิดจากอุตสาหกรรมนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการก้าวเข้าสู่ยุค Low Carbon การปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้นเกิดขึ้นตลอดช่วงอายุการใช้งานตั้งแต่หาวัสดุตลอดจนรื้อถอนอาคาร ดังนั้นการออกแบบงานสถาปัตยกรรมยุค Net Zero จึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น

แนวทางการออกแบบและการก่อสร้าง Architect & Landscape ในยุค Low Carbon
เลือกวัสดุคาร์บอนต่ำที่ได้ฉลากเขียวหรือฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นซ์(CFP)
ใช้การออกแบบ Passive Design ที่อาศัยธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร เช่น การวางอาคารตามทิศทางแสงแดดและลม เป็นต้น
ใช้วัสดุในท้องถิ่นหรือในประเทศเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนฯในการขนส่ง
เลือกใช้วัสดุที่ Reuse ขยะจากอุตสาหกรรมมาทำใหม่เพื่อลดขยะจากการก่อสร้าง
หมุนเวียนพลังงานในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ออกแบบรูปทรงอาคารหรือองค์ประกอบอาคารเช่น กันสาด ระแนง ฯ ให้สามารถกันแดดหรือสร้างร่มเงาแก่อาคารและพื้นที่โดยรอบได้
กักเก็บน้ำฝนหรือหมุนเวียนน้ำมาใช้ใหม่ในพื้นที่

การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลาก CFP เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
CFP คือ ฉลากบนผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเท่าไหร่ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยลดคาร์บอนฯ ตั้งแต่แรกก็เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำ ส่วนในงาน Landscape เองก็สามารถทำได้เช่นกัน

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สำหรับงาน Landscape จาก CPS ที่ได้รับฉลาก CFP
▪️บล็อกกำแพงกันดิน
▪️รางระบายน้ำสำเร็จรูป U-Ditch
▪️บล็อกประสานปูพื้น
▪️แผ่นทางเท้า บล็อกแผ่นทางเท้า
▪️บล็อกแปดเหลี่ยม
▪️บล็อกสี่เหลี่ยม
▪️บล็อกตัวหนอน
▪️บล็อกหญ้า ตัวหนอน
▪️บล็อกหญ้า
▪️บล็อกก่อผนัง
