เมื่อกระแสของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตยังเติบโตขึ้นอยู่เรื่อยๆ และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจที่ซื้อขายเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตอย่างการปลูกป่าเศรษฐกิจที่ขึ้นทะเบียนโครงการคาร์บอนเครดิตเป็นที่จับตามอง วันนี้ Net Zero X จะมาแชร์รายชื่อ 58 พันธุ์ต้นไม้ที่ปลูกแล้วสามารถเป็นลู่ทางสร้างรายในอนาคต และช่วยลดคาร์บอนให้กับโลกได้อีกด้วย
รู้จักกับ “คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit)” กันก่อน
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ หน่วยวัดปริมาณการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจก ที่มีการซื้อขายและใช้ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยทั่วไปแล้วหนึ่งคาร์บอนเครดิตเท่ากับการลดหรือดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) หรือเทียบเท่าในปริมาณหนึ่งเมตริกตัน
ซึ่งคาร์บอนเครดิตมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก โดยการส่งเสริมให้บริษัทและองค์กรต่างๆ มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการสนับสนุนโครงการที่ลดหรือดูดซับก๊าซเหล่านี้ เช่น โครงการปลูกป่า, โครงการพลังงานทดแทนและโครงการอนุรักษ์ป่าไม้ เป็นต้น
รายชื่อต้นไม้ที่ปลูกแล้วขายคาร์บอนเครดิตได้
นี่คือรายชื่อต้นไม้ที่สามารถนำมาขายคาร์บอนเครดิตได้ด้วย
1. ตะเคียนทอง
2. ตะเคียนหิน
3. ตะเคียนชันตาแมว
4. ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา)
5. สะเดา
6. สะเดาเทียม
7. ตะกู
8. ยมหิน
9. ยมหอม
10. นางพญาเสือโคร่ง
11. นนทรี
12. สัตบรรณตีนเป็ดทะเล
13. พฤกษ์
14. ปีบ
15. เสลา
16. อินทนิลน้ำ
17. ตะแบกนา
18. ตะแบกเลือด
19. นากบุด
20. ไม้สัก
21. พะยูง
22. ชิงชัน
23. กระซิก
24. กระพี้เขาควาย
25. สาธร
26. แดง
27. ประดู่ป่า
28. ประดู่บ้าน
29. มะค่าโมง
30. มะค่าแต้
31. เคี่ยม
32. เคี่ยมคะนอง
33. เต็ง
34. รัง
35. พะยอม
36. ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร – จำปีป่า)
37. จำปีถิ่นไทย (จำปีดง, จำปีแขก, จำปีเพชร)
38. แคนา
39. กัลปพฤกษ์
40. ราชพฤกษ์
41. สุพรรณิการ์
42. เหลืองปรีดียาธร
43. มะหาด
44. มะขามป้อม
45. หว้า
46. จามจุรี
47. พลับพลา
48. กันเกรา
49. กะทังใบใหญ่
50. หลุมพอ
51. กฤษณา
52. ไม้หอม
53. เทพทาโร
54. ฝาง
55. ไผ่ทุกชนิด
56. ไม้สกุลมะม่วง
57. ไม้สกุลทุเรียน
58. มะขาม
โดยการปลูกป่าอย่างยั่งยืน (Sustainable Forestation) นั้นจะต้องเป็นไม้ยืนต้นที่เนื้อไม้และมีวงปี ทีแต่ละปีมีความหนาของลำต้นเพิ่มขึ้น ปลูกในขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 10 ไร่ สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ไม่เกิน 16,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศป่าดั้งเดิม ไม่มีการนำไม้ออกทั้งหมดในช่วง 10 ปีตั้งแต่เริ่มดำเนินการ และที่สำคัญจะต้องมีเอกสารสิทธิ์การใช้ประโยชน์ที่ดินทางกฎหมาย เช่น
โฉนดที่ดิน (น.ส.4)
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)
เอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก.) เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก
コメント