top of page
Writer's pictureInnovatorX

ข้อมูลวัสดุศาสตร์ “กระจกกันเสียง” สำหรับงานสถาปัตยกรรม (Acoustic Glass Detail For Architecture Design)



โดยปกติแล้วก่อนที่จะมีการนำกระจกกันเสียง (Acoustic Glass) ไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม เราจำเป็นต้อง รู้จักค่า Sound Transmission Class หรือ STC เสียก่อน ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันในระดับสากลสำหรับ บ่งบอกประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง อีกทั้งยังช่วยบ่งชี้ด้วยว่าค่าเสียงที่อยู่ในระดับใดบ้าง จึงจะเหมาะกับ การป้องกันเสียงในพื้นที่การใช้งานแต่ละรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ค่า STC เป็นค่าที่ได้จากการทดสอบในห้องทดลอง โดยการแบ่งห้องว่างออกเป็น 2 ห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องที่ มีผนังหนามิดชิดเพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก จากนั้นก็จะนำวัสดุที่ต้องการทดสอบ เช่น ประตู แผ่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นฝ้าเพดาน หรือ กระจก มาติดตั้งขั้นกลางระหว่าง 2 ห้อง จากนั้นจะปล่อยพลังเสียงที่มีความ ดัง แล้วทำการวัดเสียงแบบแยกความถี่ทั้ง 2 ห้อง เพื่อหาส่วนต่าง หรือ Transmission Loss ซึ่งเป็นค่าที่วัด ประสิทธิภาพการป้องกันเสียงของวัสดุที่นำมาทำการทดสอบป้องกันเสียงนั่นเอง


จากนั้นจะนำค่า Transmission Loss หรือ TL ออกมาแยกความถี่ในระดับต่างๆ เพื่อดูความสัมพันธ์ระว่าง ความถี่ (Hz) และค่าเดซิเบลที่ได้ จากนั้นจะนำความสัมพันธ์ในระดับต่างๆไปคำนวนด้วยกราฟเพื่อหาค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ที่เหมาะสมต่อไปเสียงได้มาก


ค่า STC นั้นสามารถแบ่งได้หลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีความสัมพันธ์กับลักษณะเสียงรบกวนแต่ละแบบ และลักษณะพื้นที่การใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้


STC 30-39

สามารถลดความดังของเสียงพูดคุยปกติได้ แต่ยังเข้าใจเนื้อหาการสนทนา เป็นระดับเสียงที่เหมาะกับอาคารที่พักอาศัยทั่วไป


STC 40-49

สามารถป้องกันเสียงพูดคุยปกติได้ จนไม่เข้าใจ หรือ จับใจความเนื้อหาการสนทนาไม่ได้ เป็นระดับเสียงที่เหมาะกับร้านค้า ร้านอาหาร และอาคารสาธารณะทั่วไป


STC 50-59

สามารถลดความดังของเสียงคนทะเลาะได้ แต่ยังจับใจความเข้าใจบทสนทนาได้ เป็นระดับเสียงที่เหมาะกับห้องประชุม พื้นที่สำนักงาน พิพิธภัณฑ์ หรืออาคารพักอาศัยที่ต้องการความเป็นส่วนตัว


STC 60-69

สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากคนทะเลาะกัน และเสียงรถวิ่งได้เกือบ 100% เป็นระดับเสียงที่เหมาะกับห้องโฮมเธียเตอร์ ห้องคาราโอเกะ ห้องอัดเสียงจัดรายการ หรือ สนามบิน


STC 70-74

สามารถลดความดังของเสียงดนตรีที่เล่นอีกฝั่งได้ แต่ยังได้ยินอยู่บ้าง

เป็นระดับเสียงที่เหมาะกับโรงภาพยนตร์ โรงละคร หรือ เธียเตอร์สำหรับจัดงานคอนเสิร์ต


STC 75 ขึ้นไป

สามารถป้องกันเสียงรบกวนจากการเล่นดนตรีได้เกือบ 100% เป็นระดับเสียงที่เหมาะกับสถานบันเทิง




ในงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ต้องลดมลภาวะทางเสียง และต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัว มักจะมีการนำ กระจกกันเสียง (Acoustic Glass) ไปติดตั้งเป็นผนัง ประตู หรือ หน้าต่าง เป็นหลัก ดังนั้นคุณภาพและ ลักษณะของกระจกกันเสียง จึงเป็นข้อพิจารณาสำคัญ เพื่อความเหมาะสมและประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด


Wazzadu Encyclopedia by InnovatorX จึงได้ร่วมกับ TYK Glass ผู้พัฒนา และมีความเชี่ยวชาญด้านกระจก นำข้อมูลด้าน วัสดุศาสตร์ของกระจกกันเสียง (Acoustic Glass) ที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการนำไปใช้ ในอาคาร หรือ สถาปัตยกรรมที่ต้องการลดมลภาวะทางเสียง และต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัว มาแชร์ และแบ่งปันให้ ทุกท่านได้ใช้เป็นทางเลือกในการใช้งาน หรือ นำสเปคไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และ งานก่อสร้างได้ตามความเหมาะสม

.

กระจกกันเสียง (Acoustic Glass) คือ อะไร


กระจกกันเสียง คือ กระจกที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะนำกระจก ประเภทใดมาทำก็จะต้องมีความหนารวมไม่น้อยกว่า 12 มม. (ในกรณีที่ใช้กระจกแบบสองชั้นจะต้องมีช่องว่าง ระหว่างกระจก 70 มม.ขึ้นไป)


กระจกกันเสียง ควรมีค่า Sound Transmission Class หรือค่า STC ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ถ้าหากกระจกมีความ หนามากกว่า 12 มม. ก็จะยิ่งมีค่า STC สูง ยิ่งค่า STC สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งป้องกันเสียงรบกวนได้มากขึ้น ตามไปด้วย





ประสิทธิภาพของกระจกกันเสียงแต่ละรูปแบบที่นิยมใช้ในงาน สถาปัตยกรรม (Acoustic Glass Performance)


  • Single Panel Glass 8 mm. ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง = STC 32

  • Laminate Glass 8.76 mm. ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง = STC 35

  • Laminate Acoustic Glass 8.76 mm. ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง = STC 37

  • Laminate Insulate Glass 26.76 mm. ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง = STC 38

  • Acoustic Laminate Insulate Glass 26.76 mm. ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง = STC 41

  • Acoustic Laminate Insulate Glass 27.52 mm. ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง = STC 46





คุณสมบัติเด่นของกระจกกันเสียง (Acoustic Glass Feature)


  1. ช่วยลดมลภาวะทางเสียง ป้องกันเสียงรบกวนที่ลอดผ่านเข้ามาในอาคารได้อย่างดีเยี่ยม และป้องกันไม่ให้ เสียงดังจากภายในอาคารออกไปรบกวนภายนอก

  2. ช่วยสร้างบรรยากาศที่เงียบสงบเพิ่มความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี

  3. สเปคที่ยึดด้วยฟิล์ม PVB จะทำให้มีความคงทนมากกว่ากระจกทั่วไป ทนต่อการบุกรุก โจรกรรม และเมื่อแตก แล้ว จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย  

  4. ช่วยลดรังสียูวีได้ดี ป้องกันการซีดจางของเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งภายในอาคารได้





ข้อแนะนำในการใช้งาน (Acoustic Glass Application)


Laminate Acoustic Glass : เหมาะสำหรับเพิ่มความเป็นส่วนตัวสำหรับพื้นที่ทั่วไป เช่น บ้าน ออฟฟิศ หรือ พื้นที่ระหว่างห้อง จะช่วยป้องกันเสียงพูดคุยสำหรับห้องประชุมได้ดี

 

Laminate IGU Acoustic Glass : เหมาะสำหรับงานโครงการที่ต้องมีมาตรฐานการป้องกันเสียง มากกว่า อาคารทั่วไป เช่น โรงแรม หรือ สถานบันเทิง เพื่อช่วยลดเสียงรบกวนออกนอกบริเวณอาคาร


 

© Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX

82 views

Comments


bottom of page