top of page
Writer's pictureInnovatorX

เจาะลึกกรีนเทคโนโลยีสุดล้ำ อาคารเปลือกหอยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ! Al Dar Headquarters Abu Dhabi / MZ Architects



บทความนี้อยู่ในส่วน Knowledge I Building Tech ของ InnovatorX ท่านใดที่ติดตามอยากอัปเดตความรู้ด้านเทคโนโลยีอาคารที่มีนวัตกรรมที่น่าสนใจ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้ท่านสามารถนำไปเป็นแรงบันกาลใจในการทำงาน หรือ จะเป็นกรณีศึกษาที่นำไปปรับใช้ได้ก็ยินดีครับ เราอยากเป็นส่วนหนึ่งในการนำเรื่องราวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อทำให้ประเทศเราพัฒนาด้วยนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น 

ในบทความนี้จะพาไปรู้จักนวัตกรรมการออกแบบอาคารสํานักงานใหญ่ Aldar 


ซึ่งต้องยกให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรมที่โดดเด่นหลายอย่าง เรามารู้จักแนวคิด และการสร้างนวัตกรรมที่อยู่ภายใน Al Dar Headquarters กันเลยครับ 


Project Information

  • สถาปนิก :  MZ Architects (สถาปนิกชาวเลบานอน) 

  • ที่ตั้ง : Al Raha, Abu Dhabi 

  • วิศวกรโครงสร้าง : Arup, Stuart Clarke

  • ก่อสร้างระหว่างปี 2007 -2010

  • ความสูง 124 เมตร จำนวน 23 ชั้น 

  • พื้นที่การใช้งาน 123,000 ตารางเมตร 



การออกแบบ Al Dar Headquarters มีความโดดเด่น ด้วยรูปร่างที่คล้ายซีกโลกวงกลมสองด้านที่เชื่อมโยงเข้าหากันด้วยกระจกโค้ง  โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเปลือกหอย ซึ่งมีความหมายอย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นมรดกทางทะเลของอาบูดาบีที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของผู้คนแถบนี้มายาวนาน

เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ของรูปทรงทรงกลมเรขาคณิต สถาปนิกได้จินตนาการถึงกระจกผนังโค้งทรงกลมขนาดยักษ์สองอันที่สะท้อนเปลือกหอยที่กำลังเปิดอ้าเล็กน้อย อาคารแห่งนี้จึงกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นสัญลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ก็ว่าได้ โดยได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบมากมาย รวมถึง “เป็นหนึ่งในการออกแบบแห่งอนาคตที่ดีที่สุด" 




โดยสิ่งที่ผมจะนำมาเล่าเพื่อเจาะประเด็นด้านนวัตกรรมให้ทุกท่านฟัง คือ กรีนเทคโนโลยีของอาคารแห่งนี้ สถาปนิกและวิศวกรซึ่งถือเป็นนวัตกรที่สำคัญในการเนรมิตโครงการนี้ ได้มีแนวคิดด้านการออกแบบ Future Green Architecture อย่างไรบ้าง มาติดตามกันครับ


  1. Innovation of Recycle Material : การมุ่งสู่การออกแบบอาคารเขียวนั้น  เทคโนโลยีพื้นฐานที่เป็นเกณฑ์พิจารณาในการเลือกใช้วัสดุคือ วัสดุรีไซเคิล ซึ่งการพัฒนาวัสดุที่ใช้ในโครงการนี้จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแห่งแรกๆ ในอาบูดาบี โดยวัสดุที่ได้จากกระบวนการรีไซเคิล ประกอบด้วย เหล็ก แก้ว และคอนกรีต เป็นต้น 

  2. Innovation of Energy Saving : โดยการออกแบบนั้นได้คำนึงถึงการจัดสรรการใช้ทรัพยากร และพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีนวัตกรรม District Cooling สำหรับทำความเย็นให้กับอาคาร และพื้นที่โดยรอบ รวมถึงมีระบบไฟส่องสว่าง และระบบการจ่ายน้ำที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ การออกแบบให้อาคารเปิดรับแสงธรรมชาติอย่างเต็มที่

  3. Innovation of Waste Management : การจัดการขยะนั้นหลายๆ ครั้งมักถูกมองข้าม ซึ่งทำให้การ Operate อาคารนั้นสร้างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ค่อนข้างสูง อาทิ ระบบการแยกขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ, การที่รถขนขยะเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่นวัตกรรมในโครงการนี้ได้ใช้ระบบรวบรวมขยะอัตโนมัติแบบสุญญากาศใต้ดิน เพื่อนำของเสียทั้งหมดของอาคารกลับมาใช้ใหม่ ที่จะดูดขยะโดยตรงไปยังสถานีขนถ่ายขยะในท้องถิ่นเพื่อการรีไซเคิล แปรรูป และหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบอื่นๆ ต่อไปได้ ระบบนี้เป็นระบบแรกในอาบูดาบี



โครงการนี้ จัดได้ว่าเป็น "หนึ่งในการออกแบบแห่งอนาคตที่ดีที่สุด" 


อีกทั้งยังเป็นอาคารที่ยั่งยืน โดยได้รับการรับรอง LEED Silver สําหรับอาคารสีเขียวโดยสภาอาคารสีเขียวของสหรัฐอเมริกา


วิสัยทัศน์ที่ทำให้งานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้เป็นมากกว่าอาคารทั่วไป Muhammad Al Mubaraq (ผู้รับผิดชอบโครงการ) กล่าวว่า 


วิสัยทัศน์ของ Aldar คือการสร้างเมืองเล็กๆ ที่ผู้คนสามารถอยู่อาศัย ศึกษา เล่น และทำงานในจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนต่อไป 

แล้วพบกันนะครับ อย่าลืมกดติดตามเพื่อไม่พลาดเรื่องราวนวัตกรรมดีๆ นะครับ 


 

บทความโดยกองบรรณาธิการ InnovatorX lab


 

อ้างอิง


 

ติดต่อลงโฆษณา หรือ ติดต่อธุรกิจได้ที่

Line OA : @innovatorx หรือ https://www.facebook.com/InnovatorXbyWazzadu

Comentários


bottom of page