การศึกษาวิจัยศักยภาพเทคโนโลยีความจริง สำหรับสร้างเสริมประสบการณ์ผู้บริโภคในธุรกิจร้านกาแฟชนิดพิเศษ Craze Café
คือ งานวิจัยของ นาย ศุภภกร ศรีรัตนา นักศึกษา สาขาวิชาการออกแบบสื่อดิจิทัลและการภาพยนตร์ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
แนวโน้มของเทคโนโลยีความจริงเสริมมีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญต่อประสบการณ์ผู้บริโภคในยุคนี้ จากที่บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook) เปลี่ยนเป็นบริษัท เมตา (Meta) และได้มีการประกาศแผนการพัฒนาเทคโนโลยีความจริงเสริมในช่องทางของตนให้มีประสิทธิภาพและใช้งานง่ายมากขึ้น
อีกทั้งมีการเปิดตัวต้นแบบอุปกรณ์ที่สามารถมองเห็นวัตถุความจริงเสริมได้ง่ายขึ้นอย่างแว่นตาเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR Glasses) ที่มีลักษณะเหมือนแว่นทั่วไปที่สามารถใช้งานได้ง่ายทำให้ผู้วิจัยคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเติบโตของการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในธุรกิจที่มีความต้องการส่งเสริมประสบการณ์ของผู้บริโภคโดยการสร้างความแปลกใหม่และน่าดึงดูด ยิ่งไปกว่านั้นการใช้เทคโนโลยีที่กำลังอยู่ในกระแสนิยมเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ และประสบการณ์ของกลุ่มผู้บริโภคในยุคนี้
Pain Point Research
ในยุคปัจจุบันผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษไม่ได้มองกาแฟเป็นแค่เครื่องดื่มแก้ง่วงอีกต่อไปแต่เปรียบเสมือนไวน์ที่มีกระบวนกาผลิตที่พิเศษ แต่การถ่ายทอดเรื่องราวและการทำความเข้าใจไปถึงแก่นแท้ของกาแฟชนิดพิเศษ ยังคงต้องใช้ความพยายามในการทำความเข้าใจ
เนื่องจากข้อมูลมีความหลากหลาย เช่น ชื่อพันธุ์ การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การคั่วกาแฟ รวมไปถึงความยากในการดูแลรักษา โดยรูปแบบ การนำเสนอของสื่อกาแฟชนิดพิเศษส่วนมากยังใช้การสื่อสารในรูปแบบเดิม ๆ ที่มักสื่อออกมาในรูปแบบข้อความบนสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งการสื่อสารในลักษณะนี้ยังมีความท้าทายในเรื่องการไม่สามารถอธิบายให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มเข้าใจถึงความพิเศษของเมล็ดกาแฟได้อย่างง่ายและได้รับข้อมูลครบถ้วน
Research Process
ศึกษาทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในการ
สร้างเสริมประสบการณ์ผู้บริโภคในธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ
สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญกาแฟชนิดพิเศษ จำนวน 5 คน
สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ และสังเกตการณ์ (Observation) จำนวน 20 คน
นำข้อมูลจากการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงวิเคราะห์บทสัมภาษณ์มากำหนด
ทิศทางการออกแบบ (Design Guideline)
ออกแบบสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม
ประเมินผลความพึงพอใจผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ จำนวน 15 คน
Research Benefits
เพื่อเข้าใจถึงศักยภาพของเทคโนโลยีความจริงเสริมอย่างลึกซึ้งในการสร้างเสริมประสบการณ์ที่ดีในธุรกิจร้านกาแฟ
เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับธุรกิจกาแฟที่กำลังมองหาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ผู้บริโภคในร้านกาแฟชนิดพิเศษ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพเทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality -AR) ในการสร้างเสริมประสบการณ์ผู้บริโภคในธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ
เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ
เพื่อพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมเพิ่มเสริมสร้างประสบการณ์ของผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ
เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ โดยผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยย่อยออกเป็น 4 ขั้นตอน
ผลการวิจัยขั้นตอนที่ 1
การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญกาแฟชนิดพิเศษ จำนวน 5 คน สามารถสรุปแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ ออกเป็นประเด็นสำคัญได้ 3 ประเด็นดังนี้
1. ปัญหาและลักษณะเบื้องต้นของธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ
2.ลักษณะของกลุ่มผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมกับธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ
ผลการวิจัยขั้นตอนที่ 2
การสัมภาษณ์กลุ่มผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ จำนวน 20 คน สามารถสรุป แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคได้โดยแบ่งออกเป็นประเด็นสำคัญ ได้ 3 ประเด็น ดังนี้
1. ปัจจัยที่มีผลตnอการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย
2. ความความคาดหวังต่อร้านกาแฟและการซื้อกาแฟชนิดพิเศษ
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมกับธุรกิจกาแฟชนิดพิเศษ
ในการวิจัยขั้นตอนที่ 3
ผู้วิจัยได้นำเอาผลการวิจัยขั้นที่ 1 และ 2 มาสรุปผลและสร้างกรอบแนวทางการออกแบบผ่านเครื่องมือ Design Criteria Canvas
โดยสรุปผลออกเป็น ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การออกแบบประสบความสำเร็จได้แก่ เรื่องราวของเมล็ดกาแฟที่เข้าใจได้ง่าย การออกแบบที่สามารถสร้างเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของร้านเพื่อสามารถสร้างความแตกต่างจากร้านกาแฟอื่น ๆ และการออกแบบที่ช่วยให้ร้านกาแฟเป็นที่นิยมในสื่อสังคม
ผลการวิจัยขั้นตอนที่ 4
การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษ จำนวน 15 คน สามารถสรุปความพึงพอใจของผู้บริโภคกาแฟชนิดพิเศษออกเป็น 4 ประเด็นคือ
ความพึงพอใจด้านเนื้อหา
ความพึงพอใจด้านการออกแบบส่วนต่อประสานงานผู้ใช้
ความพึงพอใจด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมในร้าน Craze Cafe
ข้อแนะนำเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีคความจริงเสริมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ซึ่งจากการที่ผู้วิจัยได้ทดลองให้กลุ่มเป้าหมายหมายผู้บริโภคกาแฟชนิดได้ทดลองใช้พบว่ารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาผ่านเทคโนโลยีความจริงเสริมมีความแปลกใหม่ถึง 12 จาก 15 คน การออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ถึง 10 จาก 15 คน และมีทัศนคติเชิงบวกต่อร้านกาแฟถึง 10 จาก 15 คน
โดยมีข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานคือ เนื้อหาเทคโนโลยีความจริงเสริม สามารถมีองค์ประกอบของภาพ 3 มิติ ที่เยอะขึ้นกว่านี้เพื่อให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นของผู้ใช้งานได้ และการประยุกต์ใช้กับการตลาด ในการแลกส่วนลดหรือโปรโมชันภายในร้านที่จะนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ผลงานชิ้นนี้ ได้รับอนุญาตเผยแพร่จาก
นาย ศุภภกร ศรีรัตนา และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ติดต่อลงโฆษณาได้ที่
Line OA : @innovatorx หรือ https://www.facebook.com/InnovatorXbyWazzadu
Comments