จากกระแสแฟชั่นที่ไหลเวียนไม่หยุดหย่อน เกิดเป็นกองเสื้อผ้ามหาศาลที่ทับถมกลายเป็นขยะ ทำให้สถาปนิกสาวชาวฝรั่งเศส คุณ Clarisse Merlet (คลาริสเซ เมอร์เล็ต) ได้นำเศษผ้าจากอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น มาแปรเปลี่ยนเป็นวัสดุตกแต่งอย่างอิฐบล็อคสุดแนว ภายใต้การเปิดบริษัท Startup ในชื่อว่า “FabBRICK”
ด้วยความที่ประเทศฝรั่งเศสคือเมืองแห่งแฟชั่นมีแบรนด์เสื้อผ้ามากมาย ที่มีเสื้อผ้าไม่ได้ใช้กว่า 400,000 ตัวในทุกๆ ปี แทนที่จะกำจัดทิ้ง FabBRICK เลือกที่จะใช้เศษผ้าเหล่านั้นมาดัดแปลงเป็นอิฐ โดยคัดเลือกเศษผ้าฝ้ายเพราะมีคุณสมบัติช่วยป้องกันเสียงไม่ให้ดังและไอร้อนได้ดี จึงเหมาะที่จะเป็นอิฐบล็อกตกแต่งภายในอาคาร เพิ่มสีสันให้กับพื้นที่และช่วยเรื่องซับเสียงไม่ให้รบกวนห้องอื่นๆ หรือดัดแปลงใช้เป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ก็ได้เช่นกัน
โดยกระบวนการรีไซเคิล เริ่มที่การคัดแยกเศษผ้าให้ได้ประเภทที่ต้องการแล้วเอาไปบดให้กลายเป็นเส้นใยหรือชิ้นผ้าขนาดเล็ก จากนั้นผสมเข้ากับกาวที่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาตที่ใช้งานแล้วเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่มีคุณสมบัติช่วยกันไฟได้ระดับหนึ่ง เศษผ้าที่ผสมกาวจะไปบีบอัดและขึ้นรูปตามแม่พิมพ์แล้วค่อยตากแห้งให้ตัวอิฐแข็งขึ้น ใช้ระยะเวลาราวๆ 10-15 วัน อิฐบล็อกจะมีสภาพคล้ายอิฐบล็อกที่ใช้ตกแต่ง ซึ่งอิฐหนึ่งก้อนจะมีน้ำหนัก 400 กรัม หรือเท่ากับเสื้อยืดจำนวน 3 ตัว
การใช้งานของอิฐบล็อก FabBRICK
1. การตกแต่งภายใน
เนื่องจากอิฐบล็อก FabBRICK มีสีสันและลวดลายที่หลากหลาย จึงเหมาะสำหรับการใช้เป็นวัสดุตกแต่งผนังภายในห้อง สร้างบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์และสวยงาม
2. ป้องกันเสียงไม่ให้ดังรบกวน
ด้วยคุณสมบัติการกันเสียงของผ้าฝ้ายทำให้อิฐบล็อก FabBRICK เหมาะสำหรับการใช้ในสถานที่ที่ต้องการควบคุมเสียง เช่น ห้องประชุม, สตูดิโอ, ห้องนั่งเล่นหรือห้องสมุด
3. ออกแบบเฟอร์นิเจอร์หรืองานตกแต่งในวระยะเวลาสั้นๆ
สามารถใช้ในการออกแบบเฟอร์นิเจอร์, การจัด Display แสดงงานศิลปะ, บูธจัดแสดงสินค้า หรือโครงสร้างที่สามารถถอดประกอบได้ เพราะอิฐบล็อก FabBRICK ทำจากวัสดุรีไซเคิลและมีน้ำหนักเบา จึงเหมาะสำหรับการใช้ในงานก่อสร้างชั่วคราว
จากการวิจัยของ Larisse Merlet พบว่าอิฐเหล่านี้ยังสามารถพัฒนาไปได้อีก และทางเลือกของการหมุนเวียนใช้วัสดุซ้ำๆ แต่ยังคงมีประโยชน์อยู่นั้น ก็ช่วยให้โลกของเราลดปริมาณขยะ ได้อยู่เสมอ แถมยังส่งต่อแรงบันดาลใจด้านการออกแบบให้กับผู้คนได้อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูล
Facebook ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป
และรูปประกอบจาก
Comments