การออกแบบอาคารที่มีกระจกตกแต่งเป็นหลักหรือใช้ Glass Facade เพื่อให้ตัวอาคารดูโปร่งโล่ง มีความทันสมัย แต่ว่าลักษณะนี้จะมีวิธีรับมือกับแสงแดดและความร้อนที่เข้าสู่ภายในอย่างไรกัน?
สำหรับหลายที่จะใช้ผ้าม่านปิดบังแสงแดดและกันความร้อนที่จะเข้ามา อีกทั้งใช้เพิ่มความเป็นส่วนตัวปิดบังสายตาจากภายนอกเข้ามาภายใน แต่ว่ายังมีอีกเทคนิคที่ใช้ควบคู่กับผ้าม่านเพื่อป้องกันเสริมเข้าไปอีกที! นั่นก็คือ การใช้ฟิล์มติดกระจกที่มีคุณสมบัติลดความร้อน! และปัจจุบันนี้มีฟิล์มให้เลือกใช้หลายฟังก์ชั่นด้วยกัน แล้วเราจะเลือกติดฟิล์มประเภทไหนให้เข้ากับ Glass Facade กันดี
วันนี้ InnovatorX จะมาแชร์เทคนิควิธีเลือกกัน รวมถึงวิธีดูว่า ฟิล์มลดความร้อน ไหนเมื่อติดแล้วจะไม่เกิดแสงสะท้อนไปรบกวนกับอาคารรอบๆ ข้าง ที่อาจมีปัญหาตามมาทีหลัง ต้องบอกก่อนว่าโดยปกติแล้วประเภทของฟิล์มติดกระจกที่เคยคุ้นหูจะมี 2 แบบ คือฟิล์มเซรามิคกับฟิล์มปรอท แล้วความแตกต่างของทั้งคู่คืออะไร มาติดตามได้ที่บทความนี้กันเลย!
ฟิล์มปรอทกับฟิล์มเซรามิคต่างกันยังไง?
1. วัสดุที่ผลิต
ฟิล์มปรอท : ผลิตจากโลหะผสม เนื้อฟิล์มมีลักษณะมันเงา ผิวดูแวววาว คล้ายปรอท
ฟิล์มเซรามิค : ไม่มีส่วนผสมของโลหะ เป็นฟิล์มที่เคลือบด้วยเซรามิคอนุภาคเล็กระดับนาโน
2. การป้องกันแสงแดด
ฟิล์มปรอท : ช่วยลดแสงสะท้อนจากภายนอกเป็นหลัก สามารถกันรังสี UV ได้
ฟิล์มเซรามิค : ช่วยกรองแสงและความร้อนจากรังสี UV เป็นหลัก
3. ลักษณะฟิล์ม
ฟิล์มปรอท : ด้วยความที่เนื้อฟิล์มมีความทึบกว่า ทำให้เพิ่มความเป็นส่วนตัวได้มากกว่า
ฟิล์มเซรามิค : มีระดับความโปร่งของเนื้อฟิล์มให้เลือกหลายระดับ จะเลือกได้ว่าต้องการใช้แบบโปร่งหรือทึบ
4. ราคา
สำหรับเรื่องราคานั้น ปกติแล้วฟิล์มปรอทจะมีราคาถูกกว่าฟิล์มเซรามิค
5. การสะท้อนแสง
ถ้าเทียบจากคุณสมบัติแล้วฟิล์มปรอทจะมีการสะท้อนแสงที่มากกว่าฟิล์มเซรามิค
ฟิล์มปรอทนั้นถ้ายิ่งมีค่าการสะท้อนแสงสูงจะช่วยกันความร้อนได้ดี แน่นอนว่าในขณะเดียวกันจุดเด่นนี้ก็เป็นข้อเสีย เพราะแสงที่สะท้อนออกไปจะรบกวนอาคารฝั่งตรงข้าม รวมถึงสร้างทัศนวิสัยที่ไม่ดีนัก เมื่อต้องมองจากภายนอกเข้าสู่ภายในที่ติดฟิล์ม จะมีการสะท้อนแสงเข้าตาได้ ดังนั้นแล้วแนะนำว่าควรเลือกฟิล์มที่มีค่าการลดแสงสะท้อนไม่เกิน 30% ไว้ป้องกันไม่ให้ค่าความสะท้อนแสงสูงเกินไป เพราะจะส่งผลต่อทัศน์วิสัยกับผู้คนที่อยู่ในอาคารรอบข้าง
การที่เราติดฟิล์มกระจกแล้วเกิดแสงสะท้อนไปส่องโดนบ้านหรือตึกอื่นๆ จะเป็นการรบกวนที่นำมาสู่ความเดือด ร้อนของคนรอบข้างได้ เพราะฉะนั้นถ้าอยากใช้ฟิล์มลดความร้อนเพื่อติดในอาคารที่มีกระจกเยอะๆ หรือใช้กับงาน Facade ที่ตกแต่งด้วยกระจกทั้งหมด InnovatorX ก็ขอแนะนำ “ฟิล์ม Sun Gard” ของแบรนด์ Smart Tec เพราะทั้งลดร้อน ลดแสงสะท้อนและยังเลือกระดับความทึบของฟิล์มได้อีกด้วย นับว่าเหมาะสุดๆ กับการเป็นฟิล์มติดกระจกที่ยังคงความโปร่งของกระจกให้อาคารดูสวยงาม
ฟิล์ม Sun Gard ฟิล์มกรองแสงคุณภาพสูงจากอเมริกา
ด้วยความที่อากาศประเทศไทยต้องเจอกับความร้อนแทบจะทั้งปี ถ้าลงทุนติดฟิล์มไปแล้วแน่นอนว่าเราเองก็อยากได้แบบที่ใช้ทน ใช้นาน ใช้แล้วมีประสิทธิภาพดีๆ แบรนด์ Smart Tec เลยคัดฟิล์มกรองแสงที่ลดความร้อนแบบเห็นผล อย่าง Sun Gard จากโรงงานผู้ผลิตฟิล์ม Madico ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญฟิล์มติดกระจก Sun Gard มีหลายประเภทให้เลือก แต่หลักๆ แล้วจะมี 4 รุ่น ที่นิยมใช้ คือ
1. ฟิล์มเคลือบโลหะหรือฟิล์มปรอท
2. ฟิล์มเซรามิค
3. ฟิล์มคาร์บอน
4. ฟิล์มนิรภัยเคลือบโลหะ
โดยฟิล์มที่มียอดขายมากที่สุดของ Sun Gard จะเป็นฟิล์มเคลือบโลหะ เพราะมีค่าสะท้อนความร้อนสูง จึงเป็นจุดเด่นด้านคุณสมบัติที่ลดความร้อนได้ดี แต่ราคาไม่แพงเท่าฟิล์มเซรามิค
และเพื่อให้จำได้ง่ายๆ ว่า ฟิล์ม Sun Gard เนี่ยมีคุณสมบัติที่ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง InnovatorX เลยขอสรุปข้อดีของการติดฟิล์มลดความร้อน Sun Gard ตามนี้
ประโยชน์ของการใช้ฟิล์มติดกระจก Sun Gard จาก Smart Tec
1. ลดความร้อนและแสงจ้าจากภายนอก : ตัวฟิล์ม Sun Gard มีการเคลือบสารลดความร้อนประสิทธิภาพสูงไปบนเนื้อฟิล์ม จึงช่วยลดความร้อนได้ดี รวมถึงแสงสว่างที่ส่องจ้าก็จะลดทอนลงเมื่อเจอฟิล์ม
2. ปกป้องเฟอร์นิเจอร์จากรังสี UV : ด้วยคุณสมบัติในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้เกือบ 100% จึงมีส่วนปกป้องการซีดจางของเฟอร์นิเจอร์รวมถึงวัสดุภายใน เช่น พื้น, ผนัง ฯลฯ ได้เป็นอย่างดี
3. เนื้อฟิล์มมีความใส ติดแล้วยังปลอดโปร่ง : มีความโปร่งของเนื้อฟิล์มให้เลือกได้หลายระดับ
4. ช่วยประหยัดพลังงาน : ช่วยให้อุณหภูมิในอาคารและที่พักอาศัยเย็นลง ลดการใช้พลังงานจากแอร์และได้รับฉลากประหยัดพลังงานเบอร์ 5
คุณสมบัติและข้อดีจัดเต็มขนาดนี้ ที่พิเศษคือมีการรับประกันสินค้าอีกด้วย ซึ่งจะรับประกันคุณภาพของฟิล์มยาวนานตั้งแต่ 7-10 ปี ใครที่อยากติดฟิล์มที่คุ้มค่าแบบนี้ ติดต่อได้เลยที่แบรนด์ Smart Tec
ถ้าหากท่านใดสนใจสินค้า สอบถามเพิ่มได้ที่
line OA : @innovatorx