ในปัจจุบันอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม และการก่อสร้างในระดับสากล มีนโยบาย และข้อบังคับที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการมุ่งสู่การสร้างสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำ ทั้งในแง่ของการพัฒนากระบวนการออกแบบ การพัฒนาวัสดุ หรือ แม้แต่กระบวนการทางด้านการเงินสำหรับปล่อยกู้ให้กับโครงการต่างๆ เพื่อให้เป็นหมุดหมายสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกให้ได้ ก่อนที่จะไปสู่ความเป็น Net zero ได้จริงๆ
Low Carbon Architecture หรือ สถาปัตยกรรมที่ใช้คาร์บอนต่ำ
หมายถึง การออกแบบ และก่อสร้างอาคารโดยให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนจากทุกๆส่วนตั้งแต่การวางผัง, การเชื่อมต่อกับบริบทรอบข้างอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการใช้วัสดุสร้างอาคารที่มีความยั่งยืน การใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การนำเข้าพลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาดเพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และข้อบังคับทางการเงินในการปล่อยกู้ให้กับโครงการต่างๆ ที่ลูกค้า หรือ คู่ค้า จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมถึงจะสามารถกู้เงินมาลงทุนได้
และในด้านการใช้วัสดุในงานก่อสร้าง โดยเฉพาะการใช้โครงสร้างเหล็ก H-BEAM ซึ่งเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน ผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เหล็กมีคุณสมบัติรองรับการนำไปใช้งานสำหรับงานก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เหล็ก H-BEAM มีบทบาทต่อภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอย่างมาก ได้ชื่อว่าเป็น Green Building Material ตามหลัก 3R (Reduce-Reuse-Recycle) ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ และ Recycle ได้ 100% เป็นการหมุนเวียนวัตถุดิบและสินค้าตามแนวทางของ Circular Economy ให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ สร้างคุณค่าให้แก่องค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน
Wazzadu Encyclopedia จึงได้ร่วมกับ SYS ผู้ผลิตเหล็ก H-Beam ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ได้รวบรวมข้อมูลมาตรฐานการรับรองด้าน Green Certificate ของผู้ผลิตเหล็ก H-Beam มาแชร์ และแบ่งปันให้ทุกท่านได้ใช้เป็นทางเลือกในการใช้งาน หรือนำสเปคไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ตามความเหมาะสม ...ตามมาชมกันเลยครับ
การเลือกใช้เหล็ก H-BEAM ที่เหมาะกับงานก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องช่วยแก้ปัญหาหรือมีข้อพิจารณาที่สำคัญอะไรบ้าง
ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ทำให้เกิดฝุ่นน้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยของโครงการ เปิดใช้งานได้เร็ว
เตรียมงานจากโรงงานได้ และใช้แรงงานน้อยกว่าการก่อสร้างด้วยระบบอื่น
ออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้างกว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน
ออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้หลากหลาย เช่น ดัดโค้ง ทำโครงสร้างโปร่ง หรือทำส่วนยื่นได้มาก
โครงสร้างมีน้ำหนักเบา ทำให้ประหยัดฐานราก ลดการขนส่ง และพื้นที่กองเก็บวัสดุ
ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
มีความแข็งแรง สามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น
ก่อสร้างในที่จำกัดได้สะดวก
ดัดแปลง ต่อเติม หรือรื้อไปสร้างใหม่ได้ ไม่ต้องทุบทิ้ง
สามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
มาตรฐานการรับรองด้าน Green Certificate ของผู้ผลิตเหล็ก H-Beam
Climate Action Data Provider
การรับรองด้านความร่วมมือ ในโครงการรวบรวมข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อ การดูแลรักษารักษาสิ่งแวดล้อม และสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ของสมาคมเหล็กโลก World Steel
CFP by TGO
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) เป็นมาตรฐานการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ที่รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
CFO by TGO
การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) มาตรฐานการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ที่รับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
CE-CFP (Circular Economy- CFP)
เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circular Economy Product : CE-CFP ) เป็นการรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมผลิตสินค้าตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เพิ่มมากขึ้น มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเชื่อมโยงสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับภาคอุตสาหกรรมและเชื่อมโยงสู่ระดับประเทศ ตลอดจนเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของไทยในตลาดโลก ซึ่งจะต้องผ่านการรับรองโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ISO 14001-2015 Environmental Management System
มาตรฐานสากลสำหรับระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อเพิ่มสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
ISO 50001-2018 Energy Management System
มาตรฐานสากล (ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2018) ที่จะช่วยลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอนของคุณให้เหลือน้อยที่สุด และลดต้นทุนลงด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานที่ยั่งยืน
ISO 14064-1-2018 Greenhouse Gases Verification Statement
มาตรฐานว่าด้วยเรื่องหลักการและข้อกำหนดระดับองค์กร (ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 2018) สำหรับการวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อยและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การรายงาน และการทวนสอบบัญชีรายการปลดปล่อยและการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
© Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX
Kommentare