top of page
Writer's pictureInnovatorX

ข้อมูลวัสดุศาสตร์กระจกฉนวนกันความร้อน สำหรับนำไปใช้ในอาคารที่ต้องการประหยัดงาน และลดการปล่อยคาร์บอนฯ (Insulated Glass Specification For Eco & Low Carbon Building)



ในปัจจุบันวงการสถาปัตยกรรม และอุตสาหกรรมการก่อสร้างส่วนใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 39% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก 

สถาปนิก และนักพัฒนาวัสดุ จึงมีความสนใจร่วมกันในการกำหนดผลลัพธ์ และร่วมกันหาแนวทางเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นโดยเฉพาะในระดับสากลที่มีการบังคับใช้นโยบายจริงจัง และกำลังจะเริ่มมีบทบาทต่ออุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย


นั่นจึงทำให้เกิดกระบวนการ และแนวทางในด้านการออกแบบที่มุ่งสู่การสร้างสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำ เพื่อเป็นหมุดหมายแรกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และเกิดเป็นนิยามใหม่ Low Carbon Architecture ที่หมายถึง กระบวนการออกแบบ และก่อสร้างอาคาร โดยให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนจากทุกๆ ส่วนตั้งแต่การวางผัง การเชื่อมต่อกับบริบทรอบข้างอย่างสมดุล การใช้เทคโนโลยีควบคุมการใช้พลังงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การนำเข้าพลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาดเพื่อการประหยัดพลังงาน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในอาคาร รวมไปถึงการใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


และสำหรับวัสดุประเภทกระจก ก็ถือเป็นวัสดุสำคัญที่มีการนำไปใช้ในงานสถาปัตยกรรม และการก่อสร้างเป็นจำนวน ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาเทคโลยีในกระบวนการผลิตกระจกเพื่อเพิ่มศักยภาพ และคุณสมบัติในการใช้งาน ให้สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลาย และช่วยส่งเสริมในด้าน Saving Energy & Low Carbon Architecture เพิ่มมากขึ้น


Wazzadu Encyclopedia by InnovatorX ได้ร่วมกับ TYK Glass ผู้พัฒนา และมีความเชี่ยวชาญด้านกระจก นำข้อมูลสเปคกระจก ที่มีคุณสมบัติเหมาะกับการนำไปใช้ในอาคารที่ต้องการประหยัดพลังงาน (Eco Building) หรือ อาคารที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอน (Low Carbon Building) มาแชร์ และแบ่งปันให้ทุกท่านได้ใช้เป็นทางเลือกในการใช้งาน หรือ นำสเปคไปประยุกต์ใช้กับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรม และงานก่อสร้างได้ ...ตามมาชมกันเลยครับ


กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass Unit หรือ IGU) กระจกที่เหมาะกับการนำไปใช้ในอาคารที่ต้องการประหยัดพลังงาน (Eco Building) หรือ อาคารที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอน (Low Carbon Building)




กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass Unit หรือ IGU) คืออะไร


กระจกฉนวนความร้อน คือ กระจกดัดแปลงด้วยกระบวนการ (Process) ต่างๆ เพื่อตอบสนองจุดประสงค์การใช้งานในการป้องกันความร้อน และการประหยัดพลังงานเป็นหลัก โดยการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกบกัน (กระจกที่นำมาใช้เลือกได้หลายประเภท) โดยมีเฟรมอลูมิเนียม และช่องว่างคั่นกลางระหว่างกระจกทั้ง 2 แผ่น 


โดยช่องว่างดังกล่าวจะบรรจุสารดูดความชื้นแล้วใส่ฉนวน เช่น อากาศแห้ง หรือ ก๊าซเฉื่อย เพื่อคุณสมบัติในการป้องกัน หรือ ลดความร้อนจากภายนอกที่จะเข้าสู่ภายในอาคาร และมีผลโดยตรงต่อการใช้พลังงานในอาคาร จึงทำให้ประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้มากขึ้น


โดยวัตถุดิบ หรือ ส่วนประกอบหลัก ที่นิยมนำมาประกอบ หรือ ผลิตกระจกฉนวนความร้อน (Insulated Glass Unit หรือ IGU) ได้แก่


ส่วนประกอบประเภทกระจก

  • กระจกนิรภัยเทมเปอร์

เหมาะกับผนังกระจกที่ไม่สูงมากนัก และเป็นบริเวณที่มีผู้คนพลุกพล่าน เพราะเวลาแตกจะเป็นเม็ดข้าวโพดไม่เป็นอันตรายต่อผู้คน

  • กระจกโฟลต (กระจกโฟลตใส, กระจกโฟลตสี)

เหมาะกับผนังกระจกทั่วไป

  • กระจกเคลือบกันความร้อน Coated Glass : กระจก Reflective, กระจก Low E

เหมาะกับระบบผนังอาคารที่เน้นการประหยัดพลังงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • กระจกลามิเนต

เหมาะกับระบบผนังกระจกอาคารสูง เพราะเวลาแตกเนื้อกระจกยังคงยึดติดกับฟิล์มไม่ร่วงหล่นลงมาด้านล่าง


ส่วนประกอบอื่นๆ

  • โลหะ หรือ อโลหะคั่นกลาง เช่น เฟรมอลูมิเนียม หรือ ซิลิคอน

  • มวลธาตุ เช่น ก๊าซเฉื่อย หรือ อากาศแห้ง

  • สารผสมชนิดต่างๆ เช่น สารดูดความชื้น เป็นต้น



ประเภทกระจกฉนวนความร้อน ที่นิยมใช้งานในประเทศไทย


กระจกฉนวนความร้อนชนิดปลายแยก นิยมใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เป็นกระจกที่มีการจัดระยะด้วยการใช้โลหะ หรือ อโลหะคั่นกลาง เช่น เฟรมอลูมิเนียม หรือ ซิลิคอน และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยการเพิ่มสารดูดความชื้นเพื่อป้องกันในกรณีที่มีความชื้นหลงเหลืออยู่ภายใน โดยจะดูดความชื้นจากอากาศให้แห้งเพื่อไม่ให้เกิดหยดน้ำ


อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธภาพในการเป็นฉนวนกันความร้อน โดยการนำกระจกไปผสมสีอ่อนๆ (Tinted Float Glass) ,เคลือบสารที่มีคุณสมบัติการแผ่รังสีต่ำ (Heat Mirror Glass) หรือ เคลือบสารสะท้อนแสง (Heat Stop Glass) บนกระจก โดยจะเคลือบเพียงด้านเดียว หรือ สองด้านก็ได้ ซึ่งจะช่วยลดรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เดินทางผ่านช่องว่างภายในกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


นอกจากนี้หากใช้กระจกเคลือบกันความร้อน Coated Glass (กระจก Reflective และกระจก Low E) ในการทำกระจกฉนวนความร้อน ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อน และเสียงรบกวนได้ดียิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากกระจกเคลือบกันความร้อน Coated Glass (กระจก Reflective และกระจก Low E) เป็นกระจกที่มีการเคลือบผิวบนกระจก โดยจะยอมให้แสงผ่านเข้ามาได้ ขณะที่คลื่นรังสีในช่วงที่เป็นความร้อนผ่านเข้ามาน้อย จึงทำให้กระจกเคลือบกันความร้อน Coated Glass (กระจก Reflective และกระจก Low E) เป็นกระจกประหยัดพลังงาน โดยสามารถลดการใช้เครื่องปรับอากาศในอาคารได้เป็นอย่างดี


กระจกฉนวนความร้อนชนิดปลายแยก จึงเหมาะกับการนำไปใช้ทำช่องแสงขนาดใหญ่ ในอาคารขนาดใหญ่ หรือ อาคารระฟ้าที่มีความสูงค่อนข้างมาก



รูปแบบสเปคเลเยอร์กระจกฉนวนความร้อน ที่นิยมนำไปใช้งาน 


รูปแบบที่ 1 : Insulated Glass

Interior Pane Glass : กระจกแผ่นทั่วไป

Exterior Pane Glass : กระจกแผ่นทั่วไป


รูปแบบที่ 2 : Insulated Laminated Glass

Interior Pane Glass : กระจกลามิเนต

Exterior Pane Glass : กระจกแผ่นทั่วไป

***สามารถประกอบสลับกันได้


รูปแบบที่ 3 : Double Laminated Insulated Glass

Interior Pane Glass : กระจกลามิเนต

Exterior Pane Glass : กระจกลามิเนต


รูปแบบที่ 4 : Triple Insulated Glass

Interior Pane Glass : กระจกแผ่นทั่วไป

Core Pane Glass : กระจกแผ่นทั่วไป

Exterior Pane Glass : กระจกแผ่นทั่วไป


การนำกระจกฉนวนความร้อนไปใช้งาน


สามารถนำไปใช้งานได้กับอาคารขนาดเล็ก ไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ หรือ อาคารสูงระฟ้า ที่ต้องการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นด้านเสียง ,อุณหภูมิ, การประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อยคาร์บอนฯ


ข้อควรระวังในการใช้งาน


ไม่ควรใช้งานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียสเนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และไม่ควรให้ลมจากเครื่องปรับอากาศกระทบกระจกโดยตรง


 

© Wazzadu Encyclopedia By InnovatorX

66 views

Comments


bottom of page