top of page
Writer's pictureInnovatorX

สถาปนิกอาเจนติน่าใช้ AI นำเสนอแผนการสร้าง "Polimeropolis" เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ทำจากขยะพลาสติกที่ดักจับได้จากท้องทะเล

Updated: Jan 3




ในขณะที่อุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้น น้ำแข็งละลายและระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้หลายๆ ประเทศเริ่มมีไอเดียและแนวคิดที่จะทำเมืองลอยน้ำกลางทะเล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองจมอยู่ใต้น้ำเหมือน "แอตแลนติส" เช่น Busan Project ของเกาหลีใต้ และ Oxagon Project ของซาอุดีอาระเบีย ที่ได้นำเสนอแนวคิดการสร้างเมืองลอยน้ำไปเมื่อปี 2022


ล่าสุด Estudio Focaccia Prieto สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมจากประเทศอาเจนติน่า ได้ใช้ AI นำเสนอแผนการสร้าง "Polimeropolis" เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ที่ทำจากขยะพลาสติกรีไซเคิล เพื่อนำเสนอระบบนิเวศใหม่ของการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน

โปรเจคการสร้างเมืองใหญ่ในจุดที่ลึกของมหาสมุทรแปซิฟิก มีแผนที่จะชำระล้างขยะที่มีมลพิษในทะเลด้วยการนำพลาสติกรีไซเคิลที่ดักจับได้จากท้องทะเลมาแปรรูป และใช้เป็นวัสดุหลักในการสร้างเมืองที่ยั่งยืน


นอกจากนี้ Polimeropolis ยังถูกออกแบบให้สามารถผลิตไฟฟ้าและน้ำสะอาดได้ด้วยระบบพลังงานหมุนเวียน หัวหน้าสถาปนิก Juan Manuel Prieto และสถาปนิกด้านสิ่งแวดล้อม (Lead Architect) Clara Focaccia ได้ร่วมมือกับ Maxi Araya ศิลปิน AI ในการนำเสนอภาพแบบจำลองในมุมมองจากโดรนที่สร้างโดย Midjourney ซึ่งเป็น Platform AI Visual Generate ที่กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้


Polimeropolis ถูกนำเสนอภายใต้แนวคิด Great Pacific Garbage Patch โดยออกแบบให้เป็นเกาะวงแหวนลอยน้ำขนาดยักษ์ ที่สามารถทำความสะอาดมหาสมุทรได้ ด้วยการดักจับขยะและของเสียจากท้องทะเล โดยวงแหวนลอยน้ำขนาดยักษ์แต่ละวงจะถูกออกแบบให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้


- เกาะวงแหวนสำหรับใช้เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้

- เกาะวงแหวนสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย

- เกาะวงแหวนสำหรับใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ และสิ่งอำนวนความสะดวก

- เกาะวงแหวนสำหรับใช้เป็นพื้นที่การขนส่ง เช่น สนามบินน้ำ และท่าเรือ

- เกาะวงแหวนสำหรับใช้เป็นสถานพยาบาล

- เกาะวงแหวนสำหรับใช้เป็นโรงงานแปรรูปรีไซเคิลขยะ และผลิตวัสดุสำหรับการก่อสร้างเกาะใหม่


สำหรับรูปแบบการดักจับขยะ และของเสียจากท้องทะเล ทีมงานของ Estudio Focaccia Prieto ได้สร้างขอบเขตการเก็บขยะที่ทำจากตาข่าย ซึ่งตาข่ายจะช่วยจำกัดการเล็ดลอดผ่านของพลาสติกเล็กๆ และในขณะเดียวกันกระบวนการบำบัดของเสียด้วยพืชจะทำให้น้ำบริสุทธิ์ขึ้น จากองค์ประกอบ และวิธีเหล่านี้จะทำให้ได้สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย เกาะวงแหวนลอยน้ำขนาดยักษ์จะช่วยทำความสะอาดมหาสมุทร และป้องกันไม่ให้เราจมอยู่ในทะเลขยะของเราเอง


Polimeropolis จะสร้างจากขยะพลาสติกรีไซเคิลที่พบในทะเลเป็นหลัก ขยะจะถูกบดอัดแปรสภาพในโรงงานลอยน้ำ ที่คอยทำหน้าที่รีไซเคิลขยะทั้งหมด เพื่อแปรรูปให้เป็นส่วนประกอบ และวัสดุสำหรับนำไปใช้ในการก่อสร้าง ยิ่งไปกว่านั้น Polimeropolis จะพึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์ เมืองที่ล้อมรอบจะสร้างทรัพยากรของตนเอง การเคลื่อนไหวของน้ำขึ้นน้ำลงจะช่วยสร้างพลังงานไฟฟ้า ในขณะที่ระบบรีเวอร์สออสโมซิสจะสร้างน้ำดื่มที่สะอาด การผลิตอาหารจะขึ้นอยู่กับการเพาะปลูกพืช และสัตว์ทะเลที่หาได้ในบริเวณพื้นที่ทะเลสาบที่อยู่ใจกลางเกาะวงแหวนลอยน้ำแต่ละวง


เกาะวงแหวนลอยน้ำขนาดยักษ์แต่ละวง จะเป็นเขตเมืองลอยน้ำที่มีการใช้งานแบบผสมผสาน (Hybrid Floating City) ซึ่งจะรองรับผู้อยู่อาศัยได้ประมาณ 4,000 คน เมื่อการขยายตัวของเมืองลอยน้ำพัฒนามากขึ้น จะมีเกาะใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นสวนสาธารณะ, พื้นที่นันทนาการ, พื้นที่เชิงพาณิชย์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ, สนามบินน้ำ, ท่าจอดเรือ, สถานพยาบาล และโรงแรมรีสอร์ทสำหรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ซึ่งผู้คนจะสามารถเยี่ยมชมและเรียนรู้เกี่ยวกับระบบที่ใช้สำหรับสุขอนามัยของเกาะแห่งนี้ได้อย่างใกล้ชิด


Polimeropolis เป็นโครงการที่ถูกนำเสนอต่อสาธารณะชนเพื่อกระตุ้น และผลักดันให้เกิดแนวความคิดใหม่ เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การบริโภค และกำจัดขยะต่าง ๆ การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และความสำคัญของการใช้ซ้ำที่เ



กิดจากกระบวนการรีไซเคิลทรัพยากรที่ไม่ใช้แล้ว


เมืองลอยน้ำแห่งนี้ จะเป็นเมืองที่ถูกพัฒนาด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ ที่มีความมุ่งหวังให้กลายเป็นเมืองที่พยายามปรับความต้องการของเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์และเคารพต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะไม่เพียงแก้ปัญหาที่เกิดจากการผลิตขยะมากเกินไปเท่านั้น แต่ยังสร้างระบบนิเวศ และวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ในอนาคตอีกด้วย

"Juan Manuel Prieto"

 

Project info

Architecture : Estudio Focaccia Prieto

Lead Architects : Juan Manuel Prieto & Clara Focaccia

AI Artist : Maxi Araya


 

อ้างอิง



 

ติดต่อลงโฆษณาได้ที่

Line OA : @innovatorx

Comments


bottom of page