top of page
Writer's pictureInnovatorX

เครื่องดูดคาร์บอน “แมมมอธ” ที่ช่วยดึงคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศได้ 36,000 ตันต่อปี!!



ก่อนหน้านี้ เราจะเคยเห็นเครื่องดักจับคาร์บอนที่ใช้เทคโนโลยี DAC หรือเรียกเต็มๆ ว่า Direct Air Capture ที่เป็น เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงจากอากาศ ด้วยตัวดูดซับและนำไปแยกเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หรืออัดกลับลงไปกักเก็บในชั้นหินใต้ดินหรือใต้ทะเล เพื่อไม่ให้สร้างมลพิษทางอากาศ

 

และเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทสตาร์ทอัพ Climeworks จากสวิตเซอร์แลนด์ ได้ร่วมมือกับอีก 2 คู่หูสำคัญ นั่นคือบริษัท Carbfix เจ้าของเทคโนโลยีทางเคมีในการแปลงคาร์บอนเป็นของแข็ง และ On Power เจ้าของเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ ผู้ป้อนพลังงานสะอาดให้เครื่องดักจับอากาศขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเครื่อง​นี้


พวกเขาได้ร่วมมือสร้างเครื่องดูดคาร์บอนขนาดมหึมาที่นับว่าใหญ่ที่สุดในโลก ในชื่อว่า “แมมมอธ” (Mammoth) เมื่อเทียบกับเครื่องเก่าที่มีชื่อว่า “ออร์กา” (Orca) ที่มีอัตราการดักจับคาร์บอนที่ 4,000 ตันต่อปี แต่แมมมอธที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 9 เท่า มีอัตราการดักจับคาร์บอนที่ 36,000 ตันต่อปี ถ้าเทียบให้เห็นภาพก็คือเป็นปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์ประมาณ 7,800 คันต่อปี



และทาง Climeworks ก็มีการตั้งเป้าไว้ว่า แมมมอธ จะเป็นโรงงานดักจับคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกและออกแบบให้มีโมดูลเพื่อจัดเก็บก๊าซเรือนกระจกจำนวน 72 โมดูล ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายและวางซ้อนกันได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้เทคโนโลยี DAC มีเพิ่มขึ้นในอนาคต เครื่องดูดคาร์บอนของ Climeworks​ นั้นต่างออกไ​ปจากที่อื่น บริษัท​สตาร์​ทอัพรายนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับธุรกิจ​ฟอสซิล​ แต่ก็ต้องมาเจอปัญหาสำคัญของเครื่องดักจับอากาศ นั่น​คือต้นทุนการผลิตต่อหน่วยคาร์​บอนที่ค่อนข้างสูง ถือเป็นด่านสำคัญ​ที่ทาง Climeworks​ จะต้องผ่านไปให้ได้

 

ทางบริษัท​มีแผนที่จะขยายกำลังการกำจัดคาร์บอนได้มากถึง 1 ล้านตันต่อปีภายในปี ค.ศ. 2030 โดยจะให้มีต้นทุนดำเนินงานไม่เกิน 350 ดอลลาร์​สหรัฐ​ต่อตัน ซึ่งเป็นตัวเลขกลางๆ ที่พอจะยอมรับได้ แต่เป้าหมายสูงสุดของทางบริษัทคือการกำจัดคาร์​บอน​ให้ได้ 1 พันล้านตันต่อปี นั้นคาดหวังว่าจะลดต้นทุนให้ต่ำถึงระดับ 100 ดอลลาร์​สหรัฐ​ต่อตัน​ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2050


 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก

Comments


bottom of page