top of page
Writer's pictureInnovatorX

Operation Carbon กับ Embodied Carbon ต่างกันยังไง?



เดิมที Operation Carbon กับ Embodied Carbon เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวงจรชีวิตของอาคารหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในการประเมิน Carbon Footprint ว่าต้องคำนึงถึงอะไรบ้างและพบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมนี้ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีความพิเศษกว่าภาคอื่น

 

นั่นคือช่วงเวลาการเกิดวัฏจักรการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นเกิดจากการก่อสร้างของอาคาร (Embodied Carbon Emission) กับ ช่วงที่สองเกิดจากการใช้พลังงานในอาคาร (Operational Carbon Emission)

 

เพื่อขยายความให้เข้าใจถึงคำศัพท์หลักสองคำนี้ Net Zero X จะมาอธิบายให้ฟังว่า Operation Carbon กับ Embodied Carbon คืออะไรนะครับ

 

Operation Carbon หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์) ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการใช้งานอาคารหรือโครงสร้างในช่วงเวลาที่มีการใช้งานจริง เช่น

- การใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า

- การใช้พลังงานสำหรับระบบปรับอากาศหรือการเปิดแอร์ใช้

- การใช้อุปกรณ์ที่ทำความร้อนหรือทำความเย็น (กระติกน้ำร้อน, เครื่องทำน้ำแข็ง)

- การใช้พลังงานอื่นๆ ในการดำเนินงานของอาคารหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ

 

ส่วน Embodied Carbon หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เช่น คาร์บอนไดออกไซด์) ที่เกิดขึ้นในช่วงวงจรชีวิตของวัสดุก่อสร้าง ตั้งแต่การผลิต, การขนส่ง, การก่อสร้างจนถึงการรื้อถอน ซึ่งรวมถึงการใช้พลังงานในกระบวนการเหล่านี้ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงก่อนที่จะเริ่มใช้งานก่อสร้าง เช่น

- การสกัดและการผลิตวัสดุก่อสร้าง (เช่น คอนกรีต, เหล็ก, ไม้)

- การขนส่งวัสดุเหล่านั้นมายังสถานที่ก่อสร้าง

- การก่อสร้างและติดตั้ง

- การรีไซเคิลหรือกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเหล่านี้



สรุปง่ายๆ แล้วก็คือ Operation Carbon เป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้งานอาคาร ขณะที่ Embodied Carbon เป็นการปล่อยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากวัฏจักรของวัสดุก่อสร้างตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และทั้งสองส่วนนี้ล้วนมีผลต่อ Carbon Footprint โดยรวมของอาคารหรือโครงสร้างนั้นๆ

 

ปัจจุบันมีหลายวิธีในการวัดและประเมินค่าคาร์บอนทั้งจาก Operation Carbon และ Embodied Carbon ตัวอย่างการคำนวณสามารถแบ่งได้ตามนี้ครับ

 

ตัวอย่างการวัดค่า Operation Carbon สามารถวัดได้จาก :

1. การบันทึกปริมาณการใช้พลังงานของอาคาร เช่น ไฟฟ้า, น้ำมัน, ก๊าซ ฯลฯ แล้วคำนวณเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา

2. การใช้เครื่องมือวัดพิเศษ เช่น อุปกรณ์วัดก๊าซเรือนกระจก เพื่อตรวจวัดปริมาณก๊าซโดยตรง

3. การประเมินจากข้อมูลมาตรฐาน เช่น ค่าเฉลี่ยการปล่อยคาร์บอนต่อตารางเมตรของอาคารประเภทนั้นๆ

 

ตัวอย่างการวัดค่า Embodied Carbon สามารถประเมินได้จาก :

1. การวิเคราะห์วงจรชีวิตของวัสดุ (Life Cycle Assessment) เพื่อคำนวณปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบจนถึงการกำจัด

2. การใช้ฐานข้อมูลมาตรฐานที่มีค่า Embodied Carbon ของวัสดุก่อสร้างแต่ละชนิด

3. การคำนวณจากน้ำหนักและปริมาณของวัสดุที่ใช้ คูณกับค่ามาตรฐาน Embodied Carbon ต่อหน่วยน้ำหนัก

 

สุดท้ายแล้วการประเมินให้ครอบคลุมทั้งค่า Operation และ Embodied จะทำให้ได้ภาพรวมของปริมาณ Carbon Footprint ของอาคารหรือโครงสร้างนั้นให้จับต้องหรือเห็นภาพมากขึ้น เพราะสุดท้ายหากต้องการคำนวณได้ให้ค่าปริมาณที่แม่นยำมากที่สุด ต้องใช้เครื่องมือการวัดและผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการด้านนี้เพื่อประเมินค่าปริมาณ Carbon Footprint ได้ใกล้เคียงกับปริมาณที่ปล่อยออกมาตามจริง


 

ขอขอบคุณข้อมูล

30 views

Comments


bottom of page