หลายครั้งที่เราเห็นอาคารก่อสร้างที่ไม่ถูกใช้งาน โดนทุบทำลาย แล้วเหลือพวกเศษปูน เศษอิฐ กองใหญ่ที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ กลายเป็นขยะของอุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีมากถึง 85% ในกรุงเทพมหานคร
นักวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ จึงพยายามคิดค้นหาวิธีในการเปลี่ยนกองปูนเหล่านี้ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง เพื่อลดขยะ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และลดการสร้างก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ 1 ตัน ทำ ให้มีการปล่อย CO2 ประมาณ 1 ตัน สู่ชั้นบรรยากาศโลก
โดยการใช้คอนกรีตที่มาจากการรื้อถอนเป็นมวลรวม (เรียกว่ามวลรวมรีไซเคิล) ในการก่อสร้างใหม่ โดยปรับปรุงคุณภาพของมวลรวมรีไซเคิลก่อนนำไปใช้เป็นมวลรวมหยาบในส่วนผสมของคอนกรีตด้วยการเคลือบผิว
มวลรวมรีไซเคิลโดยซีเมนต์เพสต์ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า การเคลือบผิวมวลรวมรีไซเคิลด้วยซีเมนต์เพสต์ ก่อนนำไปใช้เป็นมวลรวมหยาบ ช่วยลดการดูดน้ำของมวลรวมรีไซเคิลและช่วยปรับปรุงกำลังอัดของคอนกรีตได้
จริงๆในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าของเศษคอนกรีต ในลักษณะที่กล่าวไปข้างต้นนั้น เรียกว่า การใช้เศษคอนกรีตเป็นวัตถุดิบมวลรวม (Recycling Aggregate Concrete) ส่วนอีก 2 แนวทาง คือ
การคัดแยกวัตถุดิบออกจากคอนกรีตสดเพื่อนำไปใช้งานใหม่ (Recycling Aggregate)
การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์คอนกรีต เช่น อิฐบล็อก แผ่นคอนกรีตปูพื้น
ซึ่งการรีไซเคิลปูนซีเมนต์นี้ นอกจากจะช่วยลดขยะแล้ว ยังเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของโลก
.
เพราะเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อทุกองค์กรช่วยเหลือกัน อาจจะทำให้โลกกลับมาน่าอยู่ขึ้นได้
อ้างอิง
ติดต่อลงโฆษณา หรือ ติดต่องานได้ที่
Line OA : @innovatorx
Comments