top of page
Writer's pictureInnovatorX

ประหยัดไฟ แต่อาจเสียบ้านทั้งหลัง...ข้อควรระวังเพื่อป้องกันการระเบิดของแผงโซลาร์เซลล์!



จากเหตุการณ์ที่เกิดไฟไหม้ของแผงโซลาร์เซลล์ InnovatorX จะขอเล่าถึงที่มาว่ามีปัจจัยอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดขึ้นได้ แล้วเราควรระมัดระวังเรื่องอะไรบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น


ก่อนหน้านี้เราเคยเล่าถึงข้อควรรู้ของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไปแล้ว ครั้งนี้เราจะพูดถึงโอกาสที่แผงโซลาร์เซลล์อาจเสื่อมสภาพจนนำไปสู่เหตุร้ายแรงเกิดเป็นไฟไหม้หรือเกิดการระเบิดได้ แม้ว่าจะใช้วัสดุติดตั้งที่มีมาตรฐานหรือผ่านการทดสอบมาอย่างไรก็ตาม มาทำความเข้าใจว่าต้นเหตุคืออะไร พร้อมกับทบทวนเช็คลิสต์กันอีกครั้งว่าศึกษาข้อมูลเหล่านี้ครบถ้วนเพื่อตัดสินใจติดตั้งหรือได้ตรวจสอบสภาพของแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดไปแล้วหรือยัง


สำหรับเคสที่เคยเกิดเหตุขึ้นนั้น เล่าจะมาลำดับกันว่าทำไมแผงโซลาร์เซลล์ถึงเกิดระเบิดไฟไหม้ได้?

  1. เพราะการเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ คือ การนำเอาความเข้มข้นของแสงดวงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในอาคาร ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นจะใช้ซิลิกอนในแผงโซลาร์เซลล์เป็นตัวดูดซับพลังงานความเข้มของแสงแล้วกระตุ้นให้อิเล็กตรอนในซิลิกอนเกิดการเคลื่อนที่ ที่เรียกปฏิกิริยานี้ว่า “Photovoltaic” (โฟโต้โวลตาอิก) 

  2. เมื่อแสงดวงอาทิตย์ส่องมากระทบกับแผงโซลาร์เซลล์ ซิลิกอนจะดูดซับพลังงานจนทำให้เกิดเป็นรูปแบบพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงและแผงโซลาร์เซลล์แบบซิลิกอนจะมีสมรรถนะในการผลิตไฟฟ้าได้ดี เมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส 

  3. แต่ถ้าขณะที่อิเล็กตรอนในซิลิกอนกำลังผลิตไฟฟ้า แล้วเจออุณหภูมิที่สูงกว่า 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป ความร้อนของอุณหภูมิจะทำให้การเสื่อมสภาพของแผงโซลาร์เซลล์เร็วขึ้น การคายความร้อนในตัวแผงโซลาร์เซลล์จะลดลง ความร้อนที่สะสมอยู่ก็จะทำให้เกิดการลัดวงจรจนเกิดเป็นเพลิงไหม้ได้

  4. ดังนั้นบริเวณสภาพแวดล้อมที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หากมีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ควรที่จะติดตั้งระบบระบายความร้อนให้กับตัวแผงโซลาร์เซลล์ หรือยกระดับความสูงของแผงให้สูงขึ้นเพื่อมีช่องว่างให้อากาศถ่ายเทและได้ระบายความร้อนของด้านหลังแผงโซลาร์เซลล์


สำรวจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพแผงโซลาร์เซลล์

  1. การออกแบบระบบติดตั้งที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ

  2. วัสดุอุปกรณ์ติดตั้งและบริการติดตั้งที่มีมาตรฐาน

  3. การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับกำลังผลิตไฟฟ้า

  4. การตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า, การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร

  5. การตรวจสอบสภาพการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์



หวังว่าข้อมูลในที่นี้พอจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าหากใครมีความกังวลเรื่องการใช้แผงโซลาร์เซลล์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและศึกข้อมูลเพิ่มทั้งข้อดีและข้อเสียไว้ประกอบการพิจารณาเลือกใช้งาน

 

อ้างอิง

บทความวิเคราะห์จากคุณวินิจจัย ชลานุเคราะห์


 

ติดต่อลงโฆษณา หรือ ติดต่องานได้ที่

Line OA : @innovatorx

25 views

Comments


bottom of page