top of page
Writer's pictureInnovatorX

นวัตกรรมด้าน Direct Air Capture (DAC) Technology ช่วยกู้โลกอย่างไร


เดิมทีที่ต้นไม้คอยช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ แต่มาในวันนี้ที่มนุษย์และยุคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศที่สูงมากจนเกินกว่าจะรับไหว


วันนี้ Net Zero X จะพาทุกท่านมารู้จักกับสุดยอดนวัตกรรม DAC เทคโนโลยีที่ดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้โดยตรงจากอากาศ มาดูกันว่านวัตกรรมนี้จะช่วยกู้โลกได้อย่างไร?

 

นวัตกรรม DAC คืออะไร?          

DAC นั้นย่อมาจากคำว่า Direct Air Capture Technology (DAC) คือ เทคโนโลยีที่สามารถดักจับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงจากอากาศด้วยตัวดูดซับและนำไปแยกเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ หรืออัดกลับลงไปกักเก็บในชั้นหินใต้ดินหรือใต้ทะเล เป็นต้น



รู้จักกับกระบวนการทำงานของระบบ Direct Air Capture (DAC)


1. เริ่มจากที่อากาศจะถูกดูดเข้าสู่ตัวเครื่องด้วยพัดลมดูดอากาศขนาดใหญ่ จากนั้นผ่านไปยังตัวดูดซับที่มีความจำเพาะดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในมวลอากาศ โดยอากาศที่ผ่านออกมาจากขั้นตอนนี้จะเรียกว่า “CO2 Free Air”


2. เมื่อตัวดูดซับดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จนอิ่มตัวแล้วและมีความเข้มข้นระดับสูง เรียกว่า "Concentrated CO2" ตัวดูดซับจะถูกให้ความร้อนเพื่อแยกคาร์บอนออกจากตัวดูดซับ จนได้เป็น คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์ ส่วนตัวดูดซับสามารถวนกลับไปใช้งานได้ใหม่


3. คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์จะถูกรวบรวมไปผสมกับน้ำ แล้วใช้แรงดันอัดเข้าไปเก็บไว้ในชั้นหินที่ลึกประมาณ 800 - 2,000 เมตร ใต้ดินหรือใต้ทะเล หรือช่องใต้ผิวโลกที่เป็นบ่อน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกขุดเจาะขึ้นมาใช้จนหมดแล้ว (CCS - Carbon Capture Storage) หรืออีกวิธี คือรวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป (CCU - Carbon Capture Utilization)


3. คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์จะถูกรวบรวมไปผสมกับน้ำ แล้วใช้แรงดันอัดเข้าไปเก็บไว้ในชั้นหินที่ลึกประมาณ 800 - 2,000 เมตร จากชั้นใต้ดิน, ใต้ทะเลหรือช่องใต้ผิวโลกที่เป็นบ่อน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่ถูกขุดเจาะขึ้นมาใช้จนหมดแล้ว

  • โดยการดักจับและกักเก็บคาร์บอน จะเรียกว่า “CCS” ที่มาจาก Carbon Capture and Storage 

  • กับอีกวิธีที่เป็นการรวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป “CCUS” มาจาก Carbon Capture, Utilization and Storage




การนำเทคโนโลยี DAC ไปใช้ประโยชน์เพื่อมุ่งสู่ Net Zero และกอบกู้โลกของเราได้อย่างไร?


1. ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถใช้เป็นกลยุทธ์แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

เนื่องจากเทคโนโลยี Direct Air Capture (DAC) ช่วยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงจากอากาศ เป็นหนึ่งในนวัตกรรม CCUS ที่มีการยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ในการช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้

 

โดยเจ้าเครื่อง DAC นั้นเหมาะติดตั้งบริเวณที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก เช่น โรงงานผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงฟอสซิล โรงงานอุตสาหกรรมผลิตซีเมนต์ โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กกล้า หรืออุตสาหกรรมผลิตน้ำมัน เป็นต้น โดยคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดักจับเอาไว้ตั้งแต่ปล่อยออกมาจากปล่องก่อนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ


รวมถึงมีรายงานระบุว่าแม้ว่าคาร์บอนไดออกไซด์จะมีความสามารถในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง แต่ในอากาศนั้นถือว่า มีความเจือจางมากอยู่ที่ประมาณ 400 ส่วนในล้านส่วน (Parts per million-ppm) น้อยกว่าความเข้มข้นจากปล่องโรงงานถึง 300 เท่า จึงทำให้เทคโนโลยี DAC ต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่และใช้พลังงานสูงเพื่อสูบและแยกคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ


จึงเหมาะกับการติดตั้งในปล่องโรงงานที่ปล่อยคาร์บอนสูงมากกว่าและอีกในแง่หนึ่ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคตของบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ เกี่ยวกับร่างข้อกำหนดด้านภาษีการปล่อมลพิษ 

(Emission Tax) ที่ขณะนี้ทั่วโลกกำลังพิจารณาอยู่หรือบางประเทศทางแถบยุโรปที่มีกำแพงภาษีทางด้านสิ่งแวดล้อม


2. การนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับออกมาได้ใช้ประโยชน์ต่อโลกใหม่อีกครั้ง

โดยคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับและแยกออกมานั้น นอกจากการอัดกลับเข้าไปจัดเก็บในชั้นหินแล้ว ยังมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาการนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเมทานอลหรือการผลิตยูเรีย ที่สามารถนำไปทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจนเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Synthetic Fuel) หรือ นำไปใช้ในกระบวนการช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน (Enhanced Oil Recovery) ได้อีกด้วย

 

จะเห็นได้ว่านวัตกรรม DAC หรือ Direct Air Capture เป็นสุดยอดนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อต่อยอดในการช่วยโลกอย่างแท้จริง ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยาศที่มาจากพฤติกรรมของมนุษย์และอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการดักจับและนำมาจัดเก็บหรือใช้สร้างประโยชน์ต่อสังคมและโลกของเรา




สุดท้ายนี้ ถ้าใครเริ่มสนใจนวัตกรรม DAC หรือนวัตกรรมกราฟีนที่ช่วยเรื่องการพัฒนาสินค้าให้เข้าสู่ยุค Net Zero สามารถติดต่อ Baramizi Climate Tech เพื่อสอบถามรายละเอียดได้

ตามช่องทาง LineOA : @Baramizi


 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก

Petromat

Abatable

Baramizi Climate Tech




Comentarios


bottom of page