top of page
Writer's pictureInnovatorX

พาชม Green Architecture กับการออกแบบมิวเซียมที่ “Lee Kong Chian Natural History Museum” จากสิงคโปร์




เราเคยเห็นอาคารที่มาในรูปแบบอาคารเขียว (Green Building) กันมาเยอะแล้ว ครั้งนี้ Net Zero X มีอีกที่ที่บางท่านอาจเคยไปเที่ยวชมกันมาแล้วกับพิพิธภัณฑ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจกับ Lee Kong Chian Natural History Museum ที่ประเทศสิงคโปร์ กับรูปลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมที่มีความผสมผสานแมกไม้เข้าไป ทำให้ดูสะดุดตาและยังออกแบบเป็น Green Architecture เพื่อส่งเสริมและให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมในด้านการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า


มาเจาะดูแนวคิดการออกแบบที่สะท้อนการด้าน Green Architecture ของประเทศสิงคโปร์กัน ว่าจะมีความน่าสนใจอะไรบ้าง


ชื่ออาคาร : Lee Kong Chian Natural History Museum

ชนิดอาคาร : พิพิธภัณฑ์

พื้นที่ : 8,500 ตารางเมตร

ทำเล : ประเทศสิงคโปร์


พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Lee Kong Chian (หลี่ กง เจียน) ที่เป็นอาคารสูง 7 ชั้นนี้ ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้รับการออกแบบสถาปัตยกรรมโดย W Architects และออกแบบภูมิทัศน์โดย  Tierra Design


Lee Kong Chian Natural History Museum ได้รับรางวัล Excellence Award ในหมวด "Community Facility" และ Skyrise Greenery Awards 2015 มอบให้โดย National Parks Board of Singapore เพื่อยกย่องการพัฒนาพื้นที่สีเขียว และภูมิทัศน์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยหลักเกณฑ์ในการให้รางวัล จะพิจารณาจากองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่


- แนวคิด และกระบวนการออกแบบ

- ฟังก์ชั่นการใช้งาน

- ความอ่อนไหวต่อบริบทสภาพแวดล้อม

- การมีส่วนร่วมกับชุมชน

- การประหยัดพลังงาน และความยั่งยืน





พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เปรียบเหมือนความพยายามอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาด้านความอย่างยั่งยืน Mr.Chew Chin Huat ที่เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ระยะยาวในการสร้างมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เราจึงปรารถนาที่จะผสมผสานความเขียวขจีเข้ากับการออกแบบอาคารของเราในทุกที่ที่จะทำได้


ไอเดียการออกแบบ Lee Kong Chian Natural History Museum ที่สอดคล้องกับแนวคิดความเป็น Sustainability ได้แก่


การออกแบบ The Rock Facade

ผนังในส่วนด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ ถูกออกแบบให้คล้ายกับผาหินที่ปกคลุมด้วยมอส แสดงให้เห็นถึงความหลาก หลายทางชีวภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีพืชพื้นเมืองที่เพาะปลูกไว้มากกว่า 60 ชนิด และยังมีกระบะปลูกต้นไม้จำนวนมากที่มีตำแหน่งกระจายตามระดับความสูงที่ลดหลั่นของผนังในแต่ละชั้น มีการจำลองภูมิประเทศตามธรรมชาติเพื่อกระตุ้นให้สัตว์ในท้องถิ่น เช่น นก กระรอก และผีเสื้อเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ การออกแบบลักษณะนี้ทำให้เกิด Façade ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติ ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ขัดแย้งกับบริบทสภาพแวดล้อมโดยรอบ





การออกแบบ Green & Interactive Design

ความพยายามในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ จะช่วยให้การใช้พลังงานภายในอาคารมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการออกแบบผนัง หรือ เปลือกอาคารโดยรอบให้ทำหน้าที่เป็นฉากกั้นความร้อน เพื่อช่วยรักษาสมดุลของอุณหภูมิภายในอาคาร ในขณะเดียวกันก็ดึงดูดผู้เข้าชมให้มีปฏิสัมพันธ์กับสวนบนผนังที่มีชีวิต


นอกจากนี้ พื้นที่โดยรอบของอาคารถูกจำลองเป็นสภาพแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม อาทิ ทางด้านทิศตะวันออกของอาคาร มีสวนพฤกษศาสตร์ที่จัดแสดงพันธุ์ไม้พุ่มแต่ละชนิดที่มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของพันธุ์พืชพื้นเมือง




กับทางด้านทิศเหนือของพิพิธภัณฑ์ที่มีสภาพแวดล้อมชายหาดจำลองที่กว้างขวาง และมีป่าชายเลนที่ถูกออกแบบให้สามารถ interactive โต้ตอบกับผู้คนได้ รวมไปถึงการจำลองวิวัฒนาการของเกาะป่าดงดิบเส้นศูนย์สูตรเขตร้อน เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญที่มีผลต่อการเกิดแหล่งน้ำกร่อยของสิงคโปร์


เห็นแบบนี้แล้ว การสร้างให้มี Green Architecture ก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้สภาดแวดล้อมภายในเมือง ดูเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เกิดความกลมกลืมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ หวังว่าในอนาคตจะมีงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ


 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก

تعليقات


bottom of page