top of page
Writer's pictureInnovatorX

Low Carbon Architecture คืออะไร ?



ทำไมทั่งโลกพูดถึงการออกแบบ Low Carbon Architecture ? 


ใบบทความนี้ทางทีมได้อ้างอิง การประชุม COP28 ในปีที่ผ่านมาโดยมีหัวข้อในวงการการออกแบบสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างอาคารเป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อของการพูดคุยในเวที COP28 หรือ การประชุมภาคี แห่งสหประชาชาติ ปี 2023 จัดขึ้นที่ดูไบระหว่าง วันที่ 30 พฤศจิกายนถึง 13 ธันวาคมที่ผ่านมานั้น 


การประชุมประจำปีได้รวบรวมตัวแทนจาก 198 ประเทศ รวมถึงผู้นำในอุตสาหกรรมเพื่อหารือและสร้างกลยุทธ์เพื่อจำกัดขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ผลข้างเคียงของมัน เพื่อเป้าหมายสูงสุดของการประชุมเหล่านี้คือการหาวิธีจำกัดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับช่วงก่อนอุตสาหกรรม ขณะนี้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.2 องศาเซลเซียสแล้ว


ที่สำคัญวงการสถาปัตยและอุตสาหกรรมการก่อสร้างส่วนใหญ่ เป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น39% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก 


สถาปนิกและนักวางแผนการออกแบบเมืองจึงมีความสนใจร่วมกันในการกำหนดผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดระดับนานาชาติในครั้งนี้อย่างมาก


จากการประชุมของ เวที COP28 หรือ การประชุมภาคี แห่งสหประชาชาติ ปี 2023  

ส่งผลอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม ? 


จากที่ทีมงานได้มีการศึกษาเรื่องนี้ในต่างประเทศพบว่า โครงการการออกแบบนั้นมุ่งสู่การสร้างสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำ เพื่อเป็นหมุดหมายแรกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก 


โดยสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันคือทำให้เป็นสถาปัตยกรรมคาร์บอนต่ำให้ได้เสียก่อน ที่จะไปสู่ความเป็น Net zero ได้จริงๆ


นิยาม Low Carbon Architecture คืออะไร ? 


สถาปัตยกรรมที่ใช้คาร์บอนต่ำหมายถึงการออกแบบและก่อสร้างอาคารโดยให้ความสำคัญกับการลดคาร์บอนจากทุกๆส่วนตั้งแต่การวางผัง, การเชื่อมต่อกับบริบทรอบข้างอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการใช้วัสดุสร้างอาคารที่มีความยั่งยืน การใช้ระบบที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และการนำเข้าพลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาดเพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในอาคาร

 

หลักการสำคัญของสถาปัตยกรรมที่ใช้คาร์บอนต่ำ นั้นจะประกอบด้วย :


  1. การออกแบบแบบ Passive Design : คือการออกแบบที่เน้นประสิทธิภาพการใช้ธรรมชาติเช่นแสงแดด ร่มเงา และระบบระบายอากาศในการลดความต้องการใช้เครื่องทำความร้อน ระบบระบายอากาศ และการใช้แสงสว่างให้มีบทบาทในการลดการใช้พลังงานให้ได้มากที่สุด

  2. นวัตกรรมระบบที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและติดตามการใช้พลังงาน : การติดตั้งระบบเช่น ไฟ LED ระบบ HVAC (ระบบปรับอากาศ) ที่มีประสิทธิภาพสูง และระบบควบคุมอาคารอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน

  3. นวัตกรรมวัสดุที่มีความยั่งยืน : การใช้วัสดุที่มีพลังงานที่มีการผลิตมีกระบวนการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น วัสดุจากท้องถิ่นหรือวัสดุรีไซเคิลเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้าง หรือ วัสดุจากธรรมชาติแบบประยุกต์เช่น Bio-material  เป็นต้น

  4. การใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างแหล่งพลังงานทดแทน : การรวมแหล่งพลังงานทดแทนเช่น แผงโซลาร์เซลล์ หรือ พลังงานลม เพื่อสร้างพลังงานในสถานที่ของอาคารนั้นๆให้ใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด

  5. การอนุรักษ์น้ำ : การใช้ฉากสำหรับประหยัดน้ำและระบบ เช่น การรวบรวมน้ำฝนและการรีไซเคิลเพื่อลดการใช้น้ำภายในอาคาร

  6. พื้นที่เขียว : การรวมหลังคาสีเขียว ผนังสีเขียว และการจัดสวนเพื่อปรับปรุงฉนวนอุณหภูมิ คุณภาพอากาศ และคำนึงถึงชีวิตจิตใจของสิ่งมีชีวิต


 

บทความโดยกองบรรณาธิการ InnovatorX lab


 

ติดต่อลงโฆษณา หรือ ติดต่อธุรกิจได้ที่

Line OA : @innovatorx หรือ https://www.facebook.com/InnovatorXbyWazzadu

228 views

Comments


bottom of page