top of page

“Metallic Trees” ต้นไม้ที่ดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าต้นไม้จริงตามธรรมชาติถึง 1,000 เท่า!!


สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้คือต้นไม้เกือบทุกประเภท ด้วยกระบวนการตามธรรมชาติที่ต้นไม้จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้วนำคาร์บอนที่ได้ไปเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของต้น ทั้งลำต้น กิ่งก้าน ใบและแม้กระทั่งราก

 

ต้นไม้หนึ่งต้นสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เฉลี่ย 9-15 กิโลกรัม/ปี และยังสามารถดักจับมลพิษในอากาศ ได้ 1.4 กิโลกรัม/ปี แต่ปัจจุบันนี้ต้นไม้ถูกรุกรานและนำไปใช้มากมายทำให้พื้นที่ของป่าไม้ลดลงไปมาก แม้ว่าจะมีการปลูกป่าที่ใช้สำหรับพาณิชยกรรมไว้ซื้อขายและทำประกอบธุรกิจต่างๆ จำนวนของต้นไม้ที่ตะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี

 

ยิ่งเจอกับสภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดนวัตกรรมดูดซับก๊าซเรือนกระจกมากมาย และในวันนี้ Net Zero X มีนวัตกรรมที่น่าสนใจอย่าง “Metallic Trees” หรือต้นไม้โลหะ ผลงานการวิจัยของศาสตราจารย์ Klaus Lackner จาก มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ที่วิจัยด้านการรวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการใช้เทคนิคที่ใช้พลังงานต่ำ จนสามารถสร้าง Metallic Trees ที่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าต้นไม้จริง 1,000 เท่า


แต่ทั้งนี้การวิจัยนี้ก็ยังอยู่ในกระบวนการทดสอบอยู่ ลักษณะของต้นไม้โลหะนี้จะมีความสูงประมาณ 10 เมตร มีแผ่นดิสก์ที่เคลือบเรซินออกแบบให้เป็นเสมือนใบไม้แล้วเรียงเป็นชั้นๆ ซึ่งกระบวนการทำงานของ Metallic Trees ที่จะเล่าต่อจากนี้ มีความท้าทายของการวิจัยตรงที่เรื่องต้นทุนที่ใช้ทดสอบนั้นมีจำกัดทำให้ต้องออกแบบในต้นทุนราคาที่ถูก เริ่มจากการใช้สารเคมีประเภทเรซินชนิดพิเศษที่ไว้รวบรวมคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ คล้ายกับวิธี DAC (Direct Air Capture) เป็นการดักจับด้วยวิธีแห้ง ไม่มีการดูดด้วยแรงลมอะไร

 

เนื่องจากวัสดุที่แห้งจะสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่มากขึ้นเมื่อสัมผัสกับลมและใช้เวลาประมาณ 20 นาที ให้ Metallic Trees สะสมคาร์บอนโดยเก็บไว้แผ่นดิสก์จนเต็ม จึงนำแผ่นเรซินไปหย่อนลงในภาชนะให้สัมผัสกับน้ำและไอน้ำ เพื่อปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ตัวภาชนะจะกักเก็บก๊าซแล้วเปลี่ยนก๊าซเป็นพลังงานความร้อนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง

 

ถึงงานวิจัยนี้จะยังอยู่ในขั้นทดสอบ แต่เราก็หวังว่าในอนาคตสิ่งนี้จะกลายเป็นนวัตกรรมที่ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้จริงๆ เพื่อเอามาช่วยเรื่องมลพิษทางอากาศได้ในอนาคต


 

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

ขอบคุณรูปประกอบ

117 views
bottom of page