top of page

รู้จักกับประเภทที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger และเตรียมตัวก่อนติดตั้ง

Updated: Jan 14



กระแสของการใช้รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในไทย ใครที่กำลังหาข้อมูลไว้ศึกษาว่าถ้าจะเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles) หรือรถ EV นั้น นอกจากพาหนะแล้วอีกสิ่งที่สำคัญ อย่าง “ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า” เราจะมีวิธีเลือกใช้และขั้นตอนติดตั้งเป็นอย่างไร


“ที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า" หรือ "ที่ชาร์จไฟฟ้า" (Charging Station) คือ สถานที่หรือโครงการที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าตามที่เราเคยเห็นได้จากปั๊มน้ำมัน, ห้างสรรพสินค้า, โครงการอสังหาริมทรัพย์หรือในโครงการคอนโดมิเนียม ฯลฯ โดยที่ชาร์จนี้มักจะมี EV chargers ชื่อเต็มว่า Electric Vehicle Charger ที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้ามาเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนยานพาหนะ


เรียกง่ายๆ ว่า EV Charger ก็คือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็นตัวอัดประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้


 ประเภทเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger)

1. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) :

- เป็นการชาร์จไฟแบบธรรมดาด้วยกระแสไฟฟ้าสลับ ซึ่งระยะเวลาในการชาร์จไฟขึ้นอยู่กับกำลังไฟและความจุแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า มีการใช้ไฟในการชาร์จที่ 230 - 400v และความจุในการชาร์จระหว่าง 3.7 - 22kW

- เหมาะกับการติดตั้งที่บ้าน เพราะเครื่องชาร์จมีขนาดเล็ก

- ใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมงต่อการชาร์จ 1 ครั้ง


2. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charger) :

- เป็นการชาร์จไฟ AC ไปเป็นไฟ DC โดยจ่ายไฟเข้าไปที่แบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าโดยตรง ใช้หัวชาร์จประเภท Quick Charger ได้แก่ CHAdeMo, GB/T และ CCS

- เหมาะกับศูนย์บริการชาร์รถไฟฟ้า หรือห้างสรรพสินค้า เพราะตัวเครื่องมีขนาดใหญ่และใช้ไฟฟ้ามาก

- ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับความจุพลังงานแบตเตอรี่ กิโลวัตต์-ชั่วโมง)


 แชร์วิธีการเตรียมตัวก่อนติดเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger)

1. เช็คขนาดของมิเตอร์ไฟ

สำหรับสถานที่ที่ต้องการติดตั้ง แนะนำว่าให้เช็คการใช้มิเตอร์ไฟที่สอดคล้องกับปริมาณไฟฟ้าที่จะใช้ เพื่อเป็นแนวทางให้เลือกสเปครุ่นของเครื่องชาร์จ EV Charger ที่เหมาะสม หรือหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนมิเตอร์ก็จะได้รู้ว่าควรเปลี่ยนไปใช้ขนาดเท่าไหร่จึงจะดี


2. เช็คขนาดสายไฟเมน

ขนาดที่เหมาะสำหรับใช้ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) อยู่ที่ 25 ตร.มม. ไว้รองรับกระแสไฟที่เพิ่มมากขึ้นและหากต้องการให้ปลอดภัยมากขึ้น ควรติดเครื่องตัดไฟเพื่อป้องกันไฟรั่ว


3. ตรวจดูพื้นที่ที่จะติดตั้งว่ามีขนาดเพียงพอ

เพราะบริเวณที่จอดรถส่วนใหญ่ อาจมีขนาดเหลือน้อยแต่พอให้เปิดประตูรถแล้วไม่โดนกับผนังอาคาร ลองตรวจสอบอีกครั้งว่ายังพอมีบริเวณว่างให้ติดตั้งเครื่องชาร์จหรือพื้นที่ที่จัดวางอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชาร์จไฟฟ้าเข้ารถยนต์


4. ศึกษาข้อมูลช่างติดตั้งว่าเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือหรือไม่

ข้อนี้สำคัญมากและอยากให้ใช้เวลาตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกติดตั้งเครื่องชาร์จ ทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างเฉพาะทางและอาจจะต้องติดต่อกับการไฟฟ้าเพื่อขอเพิ่มขนาดของมิเตอร์ ดังนั้นช่างที่เราเลือกมาต้องมีความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้และเชี่ยวชาญในด้านนี้



ไม่ใช่แค่ที่ชาร์จแบบพลังงานไฟฟ้าที่มาแรง แต่ขอทิ้งท้ายด้วยนวัตกรรมสุดล้ำที่มาพร้อมดีไซน์สวยงาม ซึ่งเมื่อต้นเดือน ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา ณ การประชุมประเทศภาคี (Conference of the Parties) ครั้งที่ 28 หรือการประชุม COP28 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย. - 12 ธ.ค.66 ที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส มีการเปิดตัวสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน จากฝีมือการออกแบบของดีไซเนอร์ดังระดับโลก ฟิลิปป์ สตาร์ค (Philippe Starck) ผู้เป็นนักออกแบบอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศสที่เลื่องลือ


เครื่องจ่ายเชื้อเพลิงไฮโดรเจนนี้ ต้องการสื่อถึงความเป็นพลังงานสะอาดที่ว่างเปล่า ด้วยที่มาของการลดใช้วัสดุให้น้อยลงในการออกแบบและตกแต่งสถานีเชื้อเพลิงในแบบเดิมๆ ที่เราจะมีภาพจำว่าจะต้องยิ่งใหญ่ ตระการตา แต่ทว่าสถานี “HRS BY STARCK” แห่งนี้จะเป็นการพลิกโฉมของสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ที่ออกแบบให้สถานีเชื้อเพลิงมีภาพลักษณ์ราวกับว่ากำลังล่องหนอยู่ เพื่อสื่อคอนเซปต์ของพลังงานสะอาดที่ว่างเปล่า


และทางผู้ผลิต HRS หรือ Hydrogen-Refueling-Solutions ที่เดิมมีชื่อว่า TSM ผู้ที่บุกเบิกด้านการขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน และปัจจุบันมีบริการสถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนไปกว่า 80 สถานีทั่วยุโรป ก็มีแผนที่จะเริ่มติดตั้งเครื่องจ่ายเชื้อเพลิงไฮโดรเจน HRS BY STARCK ในปี 2567 เป็นต้นไป


 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

one2car

homezoomer

checkraka

salika

bottom of page