top of page

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) เลือกอย่างไรให้เหมาะกับอาคารที่ต้องการติดตั้ง


ใกล้เข้าหน้าร้อนแบบเต็มตัวอีกกี่ไม่เดือน และช่วงที่ร้อนจัดๆ นี่แหละที่เพิ่มค่าไฟได้เสมอ การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) จึงเป็นทางเลือกที่หลายคนเริ่มหันมาใช้ เพื่อลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศและแบ่งเบาภาระค่าไฟให้ลดน้อยลง


แต่การจะติดตั้งได้นั้น ลองดูก่อนว่าใครที่สามารถติดตั้งได้ ติดไปแล้วจะประหยัดไฟได้มาก-น้อยแค่ไหน และเลือกโซลาร์รูฟท็อปแบบไหนดีให้เหมาะกับที่จะใช้งาน


โซลาร์รูฟท็อปคืออะไร?

โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ ระบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของอาคารหรือสถานที่ต่างๆ ไว้ใช้กักเก็บพลังงานจากรังสีแสงอาทิตย์ และมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ไฟฟ้าในสถานที่ที่ติดตั้ง


ข้อดีของการใช้โซลาร์รูฟท็อป

1. ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้า :

เพราะโซลาร์รูฟท็อปเปลี่ยนรังสีแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้า จึงลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าสาธารณะ ที่ลดค่าไฟไปได้มากถึง 30-70% (ขึ้นอยู่กับปริมาณการติดตั้ง)


2. ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ :

เนื่องจากการใช้งานจากระบบพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยลง และยังสามารถใช้งานได้ในระยะยาว


3. ลดอุณหภูมิของอาคารให้เย็นลง :

นอกจากผลิตพลังงานไฟฟ้ากลับมาใช้ได้แล้ว โซลาร์รูฟท็อปยังสะท้อนความร้อนที่ได้รับโดยตรงจากดวงอาทิตย์ เปรียบเหมือนเป็นหลังคาอีกชั้นนึงที่ลดความร้อนจากดวงอาทิตย์มาสู่ตัวอาคาร ทำให้ลดอุณหภูมิในได้ประมาณ 3-5 องศา


สิ่งที่ต้องเช็คก่อนเลือกติดตั้ง

ถึงการใช้โซลาร์รูฟท็อปจะดูน่าสนใจ แต่ก่อนที่จะเลือกซื้อนั้น ควรประเมินถึงปัจจัยเหล่านี้เพื่อตัดสินใจอีกที


1. มีพื้นที่ที่จะติดตั้งเพียงพอหรือไม่ : ควรให้ทีมช่างมาช่วยประเมินหน้างานก่อน เพื่อยืนยันว่าสามารถติดตั้งได้


2. พฤติกรรมและปริมาณการไฟฟ้าเป็นอย่างไร : เพื่อสำรวจว่าควรเลือกประเภทโซลาร์แบบไหนที่เหมาะระหว่าง ระบบออนกริด (On-Grid System) ที่เหมาะกับอาคารที่ใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวัน หรือแบบระบบออฟกริด (Off-Grid System) ที่มีแบตเตอรี่ในการสำรองไฟฟ้าสำหรับไว้ใช้ในตอนกลางคืน เป็นต้น


3. งบประมาณในการติดตั้ง : โดยเฉลี่ยแล้วต้องมีอย่างน้อยขั้นต่ำ 100,000 บาท ต่อการติดตั้งแบบไม่เกิน 3 กิโลวัตต์ และ 150,000 บาท ต่อการติดตั้งแบบไม่เกิน 5 กิโลวัตต์


4. ความคุ้มค่าในการลงทุน : เมื่อลงทุนติดตั้งไปแล้ว ควรคำนวณจุดคุ้มทุนว่าใช้เวลากี่ปีถึงจะคืนทุนที่ติดตั้งมา อาจจะ 3 ปี 4 ปี หรือนานกว่านั้น หากมีการคำนวณไว้เบื้องต้นจะช่วยให้เราเลือกรุ่นของโซลาร์ได้คุ้มค่า


5. ทิศทางของแสง ลม และความลาดเอียงที่จะติดตั้ง : หรือก็คือตัวทำเลของอาคารนั้นๆ ว่ามีผลกระทบไหม หากติดไปแล้ว จะโดนแดดจากอาคารอื่นมาบังแผงโซลาร์เซลล์หรือเปล่า หรือการหันทิศไปนั้นโดนแสงอาทิตย์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งมุมที่ติดตั้งได้ดีที่สุดในไทยคือ ทิศใต้


ระบบของโซลาร์รูฟท็อป

มาถึงการเลือกประเภทของระบบกันบ้าง

1. ระบบออนกริด (On-Grid System)

เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ทำให้ต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้าก่อนถึงจะใช้ระบบนี้ได้ เหมาะกับอาคารที่ใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันมากที่สุด เพราะยิ่งผลิตไฟได้เองมากเท่าไร จะลดการใช้ไฟมากเท่านั้นเลยทำให้ประหยัดค่าไฟไปในตัว เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด


2. ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

เป็นระบบที่ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ที่ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ก่อน เพราะแบบออฟกริดจะต้องมีแบตเตอรี่ในการสำรองไฟฟ้า สำหรับไว้ใช้ในตอนกลางคืน ซึ่งสามารถแยกหมวดย่อยลงไปได้อีกตามลักษณะแรงดันไฟฟ้าที่จะใช้งานว่าเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือไฟฟ้ากระแสสลับ โดยต้องเลือกประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับแรงดันที่ใช้ เหมาะกับการติดตั้งในพื้นที่ห่างไกลที่ระบบของการไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง


3. ระบบไฮบริด (Hybrid System)

เป็นระบบที่นำเอาระบบออนกริดและออฟกริดมารวมกันโดยมีระบบสำรองไฟ ถ้าสถานที่ที่จะติดตั้งมีปัญหาเรื่องไฟตกบ่อย การใช้ระบบนี้ช่วยให้จัดการพลังงานไฟฟ้าภายในอาคารได้มีประสิทธิภาพกว่าระบบอื่น เมื่อไม่มีไฟหรือแสงอาทิตย์ให้ผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ก่อน หากไม่พอจึงจะดึงไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายมาเพิ่ม ทว่าระบบสำรองไฟหรือตัวแบตเตอรี่ที่ใช้ยังมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้การติดตั้งโซล่าเซลล์แบบนี้ ไม่เหมาะกับบ้านเรือนทั่วไป เพราะอาจไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนติดตั้ง


มาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าใครสนใจการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแต่ไม่รู้จะปรึกษาใครดี InnovatorX ขอแนะนำ “PEA SOLAR” เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าระบบออนกริดที่นิยมใช้กันนั้น จำเป็นต้องขออนุญาตจากการไฟฟ้า และทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เองก็มีผลิตภัณฑ์และบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ที่ต้องการให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงการใช้งานอย่างปลอดภัยในราคาคุ้มค่า มีมาตรฐานและติดตั้งโดยทีมงานมืออาชีพ


ที่ PEA มีบริการตรวจดูหน้างานเพื่อประเมินการติดตั้งและการคำนวณขนาดของโซลาร์รูฟท็อปที่เหมาะสม เพื่อให้คุณเลือกแพ็กเกจการติดตั้งที่คุ้มค่า โดยตอนนี้มีราคาเริ่มต้นจากแพ็กเกจ Standard ตามนี้


ขนาดติดตั้ง 3 kW = เริ่มต้น 131,00 บาท

ขนาดติดตั้ง 5 kW = เริ่มต้น 176,00-203,000 บาท

ขนาดติดตั้ง 10 kW = เริ่มต้น 300,000 บาท

ขนาดติดตั้ง 10 kW = เริ่มต้น 425,000 บาท

ขนาดติดตั้ง 20 kW = เริ่มต้น 493,000 บาท


ในแพ็กเกจนี้มีบริการที่รวมการรับประกันของอุปกรณ์อินเวอร์เตอร์ 10 ปี คุณภาพแผงโซลาร์ 12 ปี และประสิทธิภาพแผงโซลาร์ 25 ปี ซึ่งที่ PEA ได้รวบรวมแบรนด์ผู้ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวมาให้เลือกมากมาย โดยที่ไม่ต้องไปหา supplier เจ้าอื่นๆ ให้วุ่นวาย





 

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก

ecct-th | peasolar

top10 | th.my-best

scgbuildingmaterials


bottom of page