เกริ่นก่อนสักนิดว่า อาคารเขียว (Green Building) คืออะไร?
ถ้าให้นิยามของความหมายคำนี้ กล่าวได้ว่า เป็นอาคารที่ออกแบบและก่อสร้างโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้งานอาคาร
สำหรับการออกแบบอาคารเขียวจะมีการเกณฑ์การประเมินว่าอาคารนั้นๆ ผ่านมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งในประเทศไทยมีเกณฑ์ที่ใช้กำหนดในชื่อว่ามาตรฐาน TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) ที่จัดตั้งโดย สถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) ส่วนในประเทศอื่นๆ ต่างมีเกณฑ์แตกต่างกันออกไป เช่น ที่อเมริกาจะใช้มาตรฐาน LEED (Leadership in Energy & Environmental Design) ที่สิงคโปร์ใช้มาตรฐาน Green Mark เป็นต้น
การเลือกวัสดุสำหรับก่อสร้างอาคารเขียวจึงมุ่งให้ความสำคัญด้านการออกแบบที่ยั่งยืน ช่วยให้สภาพแวดล้อมได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างให้น้อยที่สุด หรือมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการสร้างอาคารให้น้อยลง เพื่อมุ่งหน้าสู่เส้นทาง Net Zero มากขึ้น โดยที่อาคารนั้นต้องประหยัดพลังงานและตรงตามมาฐานสำหรับการสร้างอาคารเขียว
แล้วทำไมเหล็กถึงช่วยลดโลกร้อน? วัสดุเหล็กจะรักษ์โลกได้อย่างไร?
มาถึงตรงนี้ หลายๆ คนสงสัยกันใช่ไหมว่าทำไม เพราะถ้าพูดถึงการรักษ์โลก การลดโลกร้อน น่าจะนึกถึงวัสดุที่มาจากไม้ จากป่าธรรมชาติ หรือวัสดุรีไซเคิลซะมากกว่า ใช่แล้วก็เพราะ “เหล็ก” เป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ยังไงล่ะ!
แต่ถึงแม้เหล็กจะรีไซเคิลกลับมาใช้ได้ซ้ำๆ ทว่าวิธีการนั้นยังสร้างก๊าซคาร์บอนฯ ปล่อยมลพิษออกมามากอยู่ดี จากจุดนี้เองที่ทำให้โรงผลิตเหล็กหลายแห่งในไทยตระหนักถึงปัญหาใหญ่ รวมไปถึง SYS Steel ผู้ผลิตกลุ่มสินค้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนที่มีแนวคิด Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องของการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ที่ตอบโจทย์เรื่องการช่วยลดโลกร้อน
ที่ SYS มีเหล็กเอชบีม (H-Beam Steel) ที่เป็น Green Building Material ตามหลัก 3R ได้แก่ Reduce – Reuse – Recycle ของการนำวัตถุดิบต่างๆ ให้สามารถกลับมาใช้ซ้ำได้ เป็นการหมุนเวียนวงจรการผลิตสินค้าของระบบ Circular Economy ให้เกิดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรได้มากที่สุด และวิธีนี้เป็นจุดแข็งที่ผลิตจากเหล็กรีไซเคิลได้เกือบ 100%
การผลิตเหล็ก SYS ตามหลักของ 3R เพื่อให้เหมาะสำหรับสร้างอาคารเขียว (Green building)
มาเริ่มที่ R ตัวแรกกับ “Reduce” ลดปริมาณวัสดุ ใช้น้อยแต่ได้ความคุ้ม
เหล็ก H-Beam มีคุณสมบัติที่ทนทาน มีความแข็งแรงสูง รับน้ำหนักได้มาก ที่สำคัญเลยมีอายุการใช้งานนานกว่าวัสดุประเภทอื่นและยังสามารถใช้ออกแบบโครงสร้างได้หลายส่วน เหล็กจึงเป็นวัสดุที่น่าลงทุนสำหรับงานก่อสร้าง เพราะช่วยลดปริมาณการใช้วัสดุได้เยอะ เนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ไม่ต้องใช้วัสดุหลายประเภทหรือใช้ปริมาณที่มากเกินไปเพื่อรองรับน้ำหนักของอาคาร
R ตัวที่ 2 “Reuse” ใช้แล้ว ใช้ซ้ำ ใช้ได้เรื่อยๆ
ด้วยความที่เหล็กสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ จะรื้อถอนใหม่ ติดตั้งใหม่ หรือเอาโครงสร้างเหล็กเก่าๆ ไปประยุกต์ใช้ซ้ำใหม่ ก็ยังทำได้ เรียกได้ว่า reuse วนกลับมาใช้ซ้ำได้ตลอดเวลา
R ตัวสุดท้าย “Recycle” รีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่แบบปังๆ
จากกระบวนการผลิตเหล็กแบบ EAF (Electric Arc Furnace) ด้วยวิธีอาร์คไฟฟ้าที่ใช้การหลอมขึ้นใหม่จากพลังงานไฟฟ้าแทนการหลอมจากเตาแบบวิธีเดิมๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ แต่ว่าสามารถควบคุมคุณภาพของเหล็กได้แม่นยำกว่า ทำให้ได้เหล็กโครงสร้างที่มีคุณภาพสูง ที่ SYS ไม่ได้คัดสรรวัตถุดิบเหล็ก Recycle 100% เท่านั้น แต่ยังใส่ใจถึงเรื่องการลดมลพิษที่เกิดจากการผลิตเหล็กอีก อีกทั้งวิธี EAF ยังช่วยประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการผลิตเหล็กแบบอื่น
พอมองมายังการเติบโตของกลุ่มอาคารเขียวในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น หากใครต้องการเหล็กที่รักษ์โลกและสเปคผ่านมาตรฐาน สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ SYS
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
SYS Steel
Greennetworkthailand
Comentarios