top of page

การทดลอง self-repairing plastics การพัฒนา product ที่น่าอาจต่อยอดสู่เทรนด์การทำธุรกิจ ESG ในอนาคต


หลายคนน่าจะได้คุ้นๆ กับคำว่า “ESG” และ keyword นี้ ไม่เพียงแค่เป็นเทรนด์ธุรกิจ แต่เป็นแนวคิดที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างมากในวงการธุรกิจ โดยเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental), สังคม (Social), และการบริหาร (Governance) เพื่อสร้างความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในการทำธุรกิจในระยะยาว การให้ความสำคัญกับ ESG ช่วยบริษัทให้สามารถเข้าถึงทุกๆ กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาได้ดีขึ้น เช่น ลูกค้า, พนักงาน, ผู้ลงทุน, และสังคมโดยรวม ซึ่งทำให้ ESG เป็นแนวคิดที่สำคัญและเป็นที่นิยมในวงการธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต


Net Zero X เห็นว่า แนวคิดแบบ ESG ก็มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง Net Zero โดย ESG จะเน้นที่การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการใช้พลังงานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก, การใช้พลังงานหมักเหล้าหรือพลังงานทดแทนและการลดการใช้วัสดุพลาสติกและการสร้างก๊าซเรือนกระจกจากการใช้วัสดุหรือกระบวนการผลิต


และในวันนี้เรามาชมตัวอย่างผลิตภัณฑ์รักษ์โลกกันครับ กับ ผลงานการทดลองจากประเทศญี่ปุ่น “self-repairing plastics” เพื่อหวังลดการสร้างขยะให้น้อยลง



Researching : self-repairing plastics

Category : Plastic material

By : Professor Takuzo Aida

Location : University of Tokyo


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ศาสตราจารย์วิชา Polymer chemistry คุณ Takuzo Aida (ทาคุโซะ อาอิดะ) และทีมวิจัยได้ค้นพบวิธีในการสร้าง self-repairing plastics หรือพลาสติกที่ซ่อมแซมตัวเอง เพื่อหวังไปพัฒนาต่อและใช้กับการผลิต โดยที่จะช่วยลดปัญหาเรื่องขยะพลาสติกในปัจจุบัน ที่ขณะนี้ทั่วโลกมีปริมาณมากกว่า 350 ล้านตัน


self-repairing plastics นี้ สามารถนำประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์ของสมาร์โฟน, ชิ้นส่วนรถยนต์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ แทนที่พลาสติกทั่วไป แต่เดิมพลาสติกทั่วไป จะประกอบด้วยสายโซ่โมเลกุลพันกันหลายเส้น และโมเลกุลจะละลายเมื่อพลาสติกแตกตัว การจะซ่อมแซมโมเลกุลที่แตกไปนั้นต้องใช้วิธีหลอมในอุณหภูมิที่สูงจึงจะสามารถแก้ไขโมเลกุลที่แตกตัวได้



ซึ่งจะเรียกกระบวนการนี้ว่า “พันธะไฮโดรเจน” เป็นหลักการทำงานของ self-repairing plastics หรือพลาสติกที่ซ่อมแซมตัวเองได้ เมื่อเติมสารชนิดหนึ่งลงไปในพลาสติกธรรมดาจะเกิดเป็นพลาสติกชนิดพิเศษขึ้นมา แล้วพอพลาสสติกชนิดนี้เกิดความเสียหายหรือแตกตัวขึ้นมา ต้องทำให้พลาสติกนี้ได้รับความร้อนก่อน เพื่อให้โมเลกุลโมโนเมอร์ (หน่วยย่อยของโพลิเมอร์ที่สังเคราะห์ให้เป็นพลาสติก) สลายตัวและสร้างเนื้อพลาสติกใหม่ขึ้นมา


ทางนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วพบว่า เมื่อเผาพลาสติกและทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องที่ไม่มีการปรับอุณหภูมิเพิ่มเติม self-repairing plastics จะกลับคืนสภาพเดิมในช่วงระยะเวลา 1 ชั่วโมงกว่าๆ จากรอยแตกหัก ค่อยๆ ซ่อมแซมภายในตัวเองจนคืนสภาพเดิม ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะสร้างพลาสติกที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ด้วยคุณสมบัติต่างๆ หากใช้ส่วนผสมทางเคมีที่แตกต่างกันไป



แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่มีการนำพลาสติกตัวนี้ออกมาใช้งานในชีวิตประจำวัน เพราะมันยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง แต่ในอนาคตจะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งของต่างในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอสมาร์ทโฟน, กรอบแว่นตา, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน, เฟอร์นิเจอร์และรถยนต์


นี่ก็คืองานทดลองที่น่าสนใจไม่น้อยนะครับ ถ้าในอนาคตเราจะมีพลาสติกที่ใช้งานได้อย่างยั่งยืน แล้วนำมาต่อยอดเป็น Product ที่เข้ากับเทรนด์ของการทำธุรกิจ ESG เพื่อรีไซเคิลพลาสติกได้ถาวรและเป็นวัสดุที่ทั้งรักษ์โลกอีกด้วย


 

ขอขอบคุณข้อมูลและรูปประกอบจาก

bottom of page