top of page

งานวิจัยนักศึกษา KMITL ลักษณะเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นที่มีพื้นที่จอดเรือริมแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช



การวิจัยศึกษาค้นคว้า และนำเสนอลักษณะเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นที่มีพื้นที่จอดเรือริมแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

VERNACULAR HOUSE WITH A MOORING AREA ALONG THE PAK PHANANG RIVER, PAK PHANANG DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE


คือ วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาดีเด่น ประจำปี 2567 ของนางสาวณัฐนรี วัชระสวัสดิ์ นักศึกษา สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม จากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สจล.


ริมแม่น้ำปากพนัง เป็นย่านชุมชนที่มีวิถีชีวิตสัมพันธ์กับแม่น้ำ ก่อให้เกิดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมพักอาศัยพื้นถิ่น ในพื้นที่ริมแม่น้ำอันเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมต่อการขนส่ง การคมนาคมทางน้ำทำให้ในอดีตมีความรุ่งเรืองในด้านการติดต่อค้าขายและการประกอบอาชีพประมงในแม่น้ำปากพนัง


ที่อยู่อาศัยในเริ่มแรกมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ใกล้ท่าน้ำ ลำคลอง อ่าวและทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากิน และคนในพื้นที่มีคติในการตั้งบ้านเรือน ซึ่งชาวประมงจะ มีการทำพื้นที่จอดเรืออยู่หน้าบริเวณบ้าน ของตนเองมีลักษณะแตกต่างกันไปทั้งการผูกด้วยเสา หลังคา และเป็นขนำประกอบการประมง เรื่องพื้นฐานในการใช้ชีวิตประกอบอาชีพเป็นวิถีชีวิตที่ ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 


ซึ่งในข้อมูลส่วนนี้ส่งผลให้ทางผู้ศึกษาเห็นถึงศักยภาพและความสำคัญของชุมชนต้นหาด และชุมชนเกาะไชย ในพื้นที่ปากแม่น้ำปากพนังก่อนออกสู่อ่าวไทย ที่มีการประกอบอาชีพและใช้ชีวิตที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม การใช้งานเรือนการสร้างจุดจอดเรือเพื่อการใช้งานมีความสัมพันธ์ใกล้กับริมน้ำ ประมง เป็นพื้นที่กรณีศึกษา เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นที่มีพื้นที่จอดเรือริมแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 


จากการทดลอง การสำรวจ และสร้างเครื่องมือ เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลทำให้มีความเข้าใจถึงสภาพกาล และความเป็นไปของการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ริมแม่น้ำที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ริมแม่น้ำปากพนัง อาทิ การให้ความสำคัญกับพื้นที่จอดเรือที่มีความสำคัญต่อการคมนาคมของชุมชนริมน้ำ หากมีเส้นทางบกประกอบด้วยจุดจอดเรือจะถูกวางไว้ในพื้นที่ริมน้ำให้สะดวกต่อการใช้งาน แต่หากไม่มีเส้นทางบกประกอบในสภาพแวดล้อมผู้สร้างจะให้ความสำคัญกับจุดจอดเรือในบริเวณหน้าบ้านเพื่อสะดวกต่อการใช้งานดูแลและรักษา โดยการยกพื้นของตัวเรือนก็มีความสัมพันธ์กับทางด้านกายภาพที่ตั้ง


ดังเช่น ชุมชนต้นหาดยกพื้นสูงเพียง 1 เมตร เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ริมคลองก่อนออกสู่แม่น้ำปากพนัง น้ำจึงไม่ขึ้นสูงและไม่ได้ขึ้นลงตลอดวัน ต่างจากชุมชนเกาะไชยที่มีการยกพื้นเรือนที่สูงถึง 1.60 เมตร เพื่อสอดรับกับระดับน้ำที่มีการขึ้นลงตลอดทั้งวันจากที่ตั้งทางกายภาพอยู่ในพื้นที่แม่น้ำปากพนัง






การศึกษานี้ได้เป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพักอาศัยพื้นถิ่นริมแม่น้ำ ที่มีเรือในการใช้งานอำเภอปากพนัง เพื่อเป็นการแสดงภูมิปัญญาในด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่ ที่มีการก่อสร้างรูปแบบเรือนพักอาศัยเพื่อแก้ปัญหาทางด้านกายภาพและวิถีชีวิตที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ของเรือนพักอาศัย

และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาสำรวจเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปากพนังในอนาคต


 

ผลงานชิ้นนี้ ได้รับอนุญาตเผยแพร่จาก

นางสาว ณัฐนรี วัชระสวัสดิ์ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ศ.สุพัฒน์ บุณยฤทธิกิจ

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ผศ.ดร.ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ


 

ติดต่อลงโฆษณาได้ที่

Line OA : @innovatorx หรือ https://www.facebook.com/InnovatorXbyWazzadu

bottom of page